วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รู้จัก "จอร์จ โซรอส" พ่อมดการเงินอันโด่งดัง



ด้านแรก 


จอร์จ โซรอส เป็นคนต้นแบบสำหรับคนรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี เขาออกจากบ้านเกิดที่ประเทศฮังการีแบบเสื่อผืนหมอนใบเพื่อไปตายดาบหน้าในต่างประเทศเมื่ออายุ 17 ปี ทำงานทุกอย่างที่ขวางหน้า บางครั้งมีความเป็นอยู่แบบอดมื้อกินมื้อในประเทศอังกฤษ แต่ก็มีความอดทนจนสามารถเรียนจบปริญญาตรีได้ก่อนกำหนด เมื่อย้ายไปอยู่สหรัฐ เขาทุ่มเททำงานแบบหามรุ่งหามค่ำ 


หลักสำคัญในการทำงานของเขา คือ การศึกษาหาความรู้จากการอ่าน อ่าน แล้วก็อ่าน

ด้านที่ 2 


จอร์จ โซรอส ศึกษาวิชาของเขาอย่างแตกฉาน จนสามารถตั้งทฤษฎีใหม่เป็นของตัวเองได้ ทฤษฎีของเขาคงมีส่วนถูกต้อง มันจึงทำให้เขาได้รับผลสำเร็จทางการเงินอย่างใหญ่หลวงเมื่อเขานำไปใช้ในวิชาชีพ ทฤษฎีของเขาอาจหาอ่านได้ในหนังสือ ดังนี้

- เล่มที่เขาเขียนเอง เช่น The Alchemy of Finance: Reading the Mind of the Market (พิมพ์ 2530) และ Soros on Soros: Staying Ahead of the Curve (พิมพ์ 2538)

- เล่มที่ Robert Slater เขียนชื่อ Soros: The Life, Times & Trading Secrets of the World's Greatest Investors (พิมพ์ 2539) 

ด้านที่ 3 


จอร์จ โซรอส เชื่อว่าเงินเป็นเพียงพาหะในการทำกรรมดีอย่างอื่น ฉะนั้นเขาบริจาคเงินจำนวนมากเพื่อการกุศล ส่วนตัวเองมีความเป็นอยู่อย่างธรรมดาๆ ไม่หรูหราเหมือนอภิมหาเศรษฐีส่วนมากในสหรัฐ เขาไม่มีเครื่องบินส่วนตัว ไม่มีเรือยอชท์ ไม่สะสมงานศิลปะแพงๆ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า ไม่เข้าสังคมฟุ่มเฟือยชั้นสูง

ด้านที่ 4 


การโจมตีค่าเงินของจอร์จ โซรอส ให้ทั้งบทเรียนและประโยชน์ต่อคนจำนวนมาก โดยเฉพาะจากการปรับนโยบายเศรษฐกิจของประเทศที่ถูกโจมตี บทเรียนหลักมีอยู่ว่าระบบตลาดเสรีในยุคโลกาภิวัตน์มีพลังสูงมาก ไม่มีรัฐบาลใดจะสามารถต้านทานมันได้โดยการดำเนินนโยบายผิดๆ เป็นเวลานานจนทำให้เศรษฐกิจขาดสมดุลอย่างร้ายแรง แม้แต่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจ เช่น อังกฤษ ยังทำไม่ได้ และเมื่อพยายามก็ถูกนักเก็งกำไร เช่น จอร์จ โซรอส โจมตีจนพ่ายแพ้ เมื่ออังกฤษแพ้และยอมลดค่าเงินปอนด์ ชาวอังกฤษจำนวนมากได้ประโยชน์จากการขยายตัวของการส่งออก เพราะสินค้าอังกฤษราคาต่ำลง ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดโลกมากขึ้น

ด้านที่ 5 


จอร์จ โซรอส ไม่มีสัญชาตญาณในการอ่านเหตุการณ์เหนือคนอื่น แต่เขาอ่านเหตุการณ์ถูกมากกว่าผิด เพราะเขาค้นคว้าและแสวงหาข้อมูลชนิดหามรุ่งหามค่ำมากกว่าคนอื่น การพูดได้หลายภาษาเอื้อให้เขาติดตามการวิเคราะห์เหตุการณ์ได้จากหลายมุมมองกว่าผู้ที่รู้เพียงภาษาเดียว เขาติดตามอ่านวารสารวิชาชีพถึง 30 ชนิด เพื่อจะเรียนรู้ว่าคนในอาชีพไหนกำลังคิดอะไร ทุกวันเขาอ่านรายงานประจำปีของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ 20-30 เล่ม เขาติดตามข่าวตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม หรือดินฟ้าอากาศ เพราะทุกอย่างมีผลกระทบต่อตลาดไม่มากก็น้อยเขานำสิ่งเหล่านั้นมาประกอบกันเพื่อวิเคราะห์ว่าจะนำเงินทุนไปซื้ออะไร ที่ไหน และเมื่อไร เพราะกิจการเก็งกำไรครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นหุ้น พันธบัตร เงินตรา ทองคำ วัตถุดิบของอุตสาหกรรม น้ำมัน สินค้าเกษตรหรืออนุพันธ์ต่างๆ 

ด้านที่ 6 


ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ (Reflexivity) จะเกิดมาจากผลกระทบของกลุ่ม Participant ได้เข้าไปกระทำ Actions ในตลาดนั่นเอง ซึ่งตลาดจะเป็นกระจกสะท้อนผลลัพธ์ดังนั้นหัวใจของ Soros ขั้นแรก ก็คือ Boom Bust Model ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากและโซรอสใช้ในการมองแบบ Macro View มาโดยตลอด ขั้นแรกของการก่อตัวของ ฟองสบู่ก็คือ (Boom)  ความเชื่อของ Participant บางกลุ่มในตลาดได้กระทำ Actions ต่อตลาด และเมื่อตลาดตอบสนองในทิศทางที่พวกเค้าเหล่านั้นคิด ก็จะทำให้พวกเค้าเหล่านั้นเชื่อมั่นในความคิดของตัวเองว่าถูกต้อง กล่าวคือ Participant จะยึดติดความถูกต้องของตัวเองกับสิ่งที่ตลาดสะท้อนกลับออกมาให้เห็น  แล้วเมื่อทิศทางตลาดตอบรับความเชื่อของเค้าเหล่านั้นเค้าก็จะยิ่งมั่นใจมากขึ้นและความมั่นใจของเค้ารวมทั้งการตอบสนองของตลาด เหล่านี้เองจะสร้าง ความเชื่อใหม่ๆให้แก่กลุ่มบุคคลที่อยู่ภายนอกตลาดกล่าวคือ Observer นั่นเอง ซึ่งฟองสบู่จะค่อยๆขยายตัวออกตามอัตราที่ Observer เหล่านี้ค่อยๆเข้ามากลายเป็น Participant ซึ่งจะเป็นไปดัง Functions ดังต่อไปนี้ Observer ------>   Participant -------->  Market Feed Back (สอดคล้องความเชื่อ ได้รับผลตอบแทนที่ดี)จาก Functions ของโซรอส เราจะเห็นได้ว่า ยิ่งตลาดตอบสนองสอดคล้องไปในทิศทางที่เราต้องการให้เป็นมากเท่าไร อัตราการเร่งก็จะยิ่งเร่งให้ Observer เข้ามาเป็น Participant มากขึ้น กว่า Rate อัตราปกติที่ตลาดจะรับได้ต.ย. เช่น ราคาทองคำ ที่ปรับตัวสูงขึ้น ต่อเนื่อง ตามความเชื่อของกลุ่มคนในตลาด Commodity บางกลุ่ม และราคาได้ตอบสนองต่อความเชื่อเหล่านั้น ซึ่งจะเป็นอัตราเร่งความมั่นใจ และสร้างความเชื่อว่าความคิดเหล่านี้ถูกต้อง จนส่งผ่านมาถึงผู้คนภายนอกตลาด แต่แน่นอน การซื้อทองคำเพื่อลดผลกระทบจากการด้อยค่าของเงินสกุลหลักๆเป็นสิ่งที่ทำมานานแล้ว แต่การอัตราการเข้ามาที่เร็วเกินไปตามความเชื่อของ Observer ที่คล้อยตามนั้นทำให้ตลาด สะท้อนกลับออกมาในทิศทางที่ตรงกันข้ามนั่นเอง  และหากตลาดสะท้อนในทิศทางความเชื่อที่ตรงกันข้ามเหล่านี้ต่อไป คนอีกกลุ่มซึ่งคิดสอดคล้องกับตลาดในทิศทางก็จะเริ่มมั่นใจในเหตุผลบางอย่าง ว่าถูกต้อง และส่งผ่านความเชื่อนี้ออกไปให้กับ Participant คนอื่นๆเริ่มรับรู้ และคล้อยตาม เช่น ธนาคารกลางซึ่งเริ่มลดการถือครองทองคำลงด้วยเหตุผลบางอย่าง อะไรเหล่านี้เป็นต้น สุดแท้แต่ความเชื่อ และยิ่งหากตลาดแสดงผลลัพธ์สอดคล้องไปในทิศทางความเชื่อของคนกลุ่มนี้ ความเชื่อก็จะเริ่มมีน้ำหนักขึ้นเรื่อยๆๆ จนหลายคนเริ่มคล้อยตามและคิดว่าถูกต้อง  ซึ่งหากผลกระทบเหล่านั้นรุนแรงและเจ็บปวดมาก Participant บางพวกก็จะค่อยๆทยอยออกจากตลาดไป  เป็น Loop แบบนี้วนไปเรื่อยๆ โดยที่ Observer และ Participant อาจจะเป็นคนกลุ่มใหม่ๆผลัดเวียนเปลี่ยนไปอยู่เสมอหรือคนเก่าก็ได้

ด้านที่ 7 


Mr.Soros & His Reflexivity


จอร์จ โซรอส มีแนวคิดว่าตลาดหุ้นทำงานอย่างไรที่ค่อนข้างแตกต่างจากคนอื่น เขาเรียกโมเดลของเขาว่า Reflexivity...โซรอสมองว่าในตลาดหุ้นจะมีความลำเอียงหลักของตลาดอยู่เสมอ นักลงทุนแต่ละคนต่างมีความลำเอียงเป็นของตัวเองซึ่งแรงซื้อแรงขายจะทำให้ความลำเอียงเหล่านั้นหักล้างกันไปส่วนหนึ่ง แต่ไม่ว่าจะหักล้างกันยังไงก็จะยังเหลือความลำเอียงส่วนหนึ่ง ที่หักล้างไม่หมดและกลายเป็นความลำเอียงหลักที่ครอบงำทั้งตลาดในขณะนั้นๆ อยู่ ความลำเอียงหลักทำให้ตลาดไม่เคยอยู่ที่จุดสมดุล มีแต่มากไปกับน้อยไป ราคาหุ้นจะเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มที่แท้จริงของมันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานบวกด้วยความลำเอียงหลักที่ทำให้ราคาหุ้นขึ้นหรือลง มากหรือน้อยกว่าที่ควรจะเป็นตามปัจจัยพื้นฐานแต่แค่นั้นยังไม่พอ การเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นที่เกิดขึ้นจะย้อนกลับมามีอิทธิพลกับแนวโน้มที่แท้จริงและความลำเอียงหลักอีกที ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มที่แท้จริงกับ ความลำเอียงหลักที่มีต่อราคาหุ้น ไม่ใช่ความสัมพันธ์แบบทางเดียว แต่เป็นความสัมพันธ์แบบสองทิศทาง พูดง่ายๆ ก็คือ ยิ่งราคาหุ้นขึ้น ความลำเอียงของตลาดว่าหุ้นขึ้นจะยิ่งมากขึ้น และทำให้ราคาหุ้นยิ่งขึ้นต่อไปอีก การที่มุมมองของนักลงทุนส่งผลต่อราคาหุ้นแล้วทำให้ราคาหุ้นกลับมาส่งผลต่อมุมมองของนักลงทุนอีกทีนี้เองที่โซรอสเรียกว่า Reflexivity ในตลาดหุ้น ปฏิสัมพันธ์แบบสองทางนี้ทำให้การทำนายราคาหุ้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมากถ้าเรามีสมมติฐานเกี่ยวกับกลไกในตลาดหุ้นว่าเป็นแบบนี้ เมื่อใดที่มุมมองของนักลงทุนกับการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นมีลักษณะส่งเสริมกันเอง เมื่อนั้นราคาหุ้นจะวิ่งออกจากปัจจัยพื้นฐานออกไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดฟองสบู่ และจะเป็นเช่นนั้นอยู่จนกว่าพวกมันจะขัดขากันเองซึ่งจะทำให้เกิด market correction ขึ้น ตลาดหุ้นจึงมีแนวโน้มที่จะมี boom และ burst อยู่ร่ำไป แทนที่จะพยายามวิ่งเข้าสู่จุดสมดุลเองตลอดเวลาเหมือนอย่างที่ทฤษฏีทางการเงินบอกไว้ และกลยุทธ์ของโซรอสก็คือการพยายามทำกำไรจาก boom และ burst เหล่านี้โซรอสบอกว่าพวก neoclassical คิดถูกที่เชื่อว่าตลาดเสรีดีที่สุด แต่ผิดตรงที่เชื่อว่าตลาดเสรีมีเสถียรภาพ ส่วนพวก keynesians นั้นผิดตรงที่เชื่อว่า การแทรกแซงโดยรัฐฯ จะช่วยสร้างเสถียรภาพได้ โซรอสเชื่อว่านั่นจะยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง ตลาด unstable อยู่แล้วโดยธรรมชาติและไม่มีอะไรที่จะเปลี่ยนมันได้แนวคิดที่สำคัญมากของ Reflexivity คือ ราคาหุ้นส่งอิทธิพลต่อปัจจัยพื้นฐานได้ด้วย ไม่ใช่ปัจจัยพื้นฐานส่งผลต่อราคาหุ้นอย่างเดียว เช่น บริษัทที่ใช้ M&A เป็นกลยุทธ์ในการเติบโต ถ้าราคาหุ้นของบริษัทสูงลิ่ว บริษัทย่อมสามารถระดมทุนได้ในราคาต่ำ ทำให้มีเงินต้นทุนต่ำมาซื้อกิจการ ซึ่งจะยิ่งทำให้กำไรเติบโตได้ง่ายขึ้น หรือในช่วงเวลาที่ตลาดอสังหาตกต่ำ ถ้าอยู่ดีๆ ตลาดหุ้นขึ้นแรงเนื่องจากตลาดเก็งล่วงหน้าว่าอสังหากำลังจะฟื้นทั้งที่ยังไม่มีสัญญาณใดๆ เลยที่ทำให้เชื่อได้ว่าอสังหากำลังจะฟื้น แต่ถ้าตลาดหุ้นยังขึ้นต่อไปเรื่อยๆ ความมั่งคั่งของคนในตลาดย่อมเพิ่มขึ้น ที่สุดแล้วก็จะทำให้มีคนมีสภาพคล่องมาช้อนซื้ออสังหาราคาถูก ทำให้ตลาดอสังหาฟื้นได้จริง เป็นต้น โซรอสเป็นนักเก็งกำไร ประเภท Global Macro เขาเชื่อว่า การเข้าใจปัจจัยพื้นฐานนั้นเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แต่ว่ายังไม่เพียงพอ การมองตลาดแบบ Reflexivity คือสิ่งที่มาช่วยเติมเต็มการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานในส่วนที่ยังบกพร่องอยู่ เพราะนักลงทุนไม่มีวันเข้าใจปัจจัยพื้นฐานได้ครบถ้วน จึงจำเป็นต้องอาศัยการสังเกตจากตลาดในส่วนที่เรายังไม่รู้ด้วย แต่เดิมโซรอสอาศัยปัจจัยพื้นฐานและ Reflexivity ในการทำกำไรจากหุ้นเป็นรายตัว แต่ต่อมาเขาก็เริ่มหันมาหากำไรจากการมองทั้งตลาดแทน เพราะเขามองว่าตัวเขาเองมีความสามารถจำกัดในการทำความเข้าใจอุตสาหกรรมหลายอุตสาหกรรมให้ได้แบบลึกซึ้งอยู่ ในขณะที่เขาสามารถทำความเข้าใจกับระบบเศรษฐกิจและการเงินได้ดีมากกว่า และนั่นก็ได้ทำให้เขาค้นพบแนวทางที่เขามีพรสวรรค์อย่างยิ่งในที่สุด

ด้านที่ 8  


ทำนายการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจอเมริกาไว้ล่วงหน้า เขาเขียนหนังสือเล่มหนึ่งเมื่อเดือนมกราคม 2551 ชื่อ “ยุคใหม่ของตลาดการเงิน” (The New Paradigm for Financial Markets) แม้เขาจะพยากรณ์วิกฤติการเงินครั้งใหญ่ได้ แต่ในเรื่องการลงทุนกว่าที่โซรอสจะฝ่าพิษวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เรามาดูกันว่าปีที่ผ่านมาเขาลงทุนอะไรบ้าง และให้ผลตอบแทนแก่เขาอย่างไรโซรอส กล่าวว่า ถึงแม้เขาจะตั้งรับวิกฤติครั้งนี้เป็นอย่างดี แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้เขาขาดทุนมหาศาลก็คือ การที่ตลาดการเงินในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนาไม่ได้แยกออกจากกันอย่างชัดเจน (Decoupling)ตลาดหุ้นในอินเดียและจีนต่างได้รับผลกระทบมากกว่าตลาดหุ้นในอเมริกาและยุโรปเสียอีก ที่สำคัญเขาไม่ได้ลดการลงทุนในตลาดหุ้นอินเดียเลย ทำให้ปีที่ผ่านมา "ขาดทุน" ในอินเดียมากกว่ากำไรที่เคยได้ในปีก่อนหน้า สำหรับการลงทุนในจีน โชคดีที่ผู้จัดการกองทุนประจำเมืองจีนทำได้ดีในการเลือกหุ้น รวมทั้งการแข็งค่าของค่าเงินหยวนช่วยให้เอาตัวรอดจากการลงทุนในจีนไปได้การขาดทุนจากอินเดียและผลขาดทุนจากผู้จัดการกองทุนทำให้โซรอสต้องใช้การลงทุนแบบ "มาโคร" (Macro Account) เป็น "ตัวช่วย" ซึ่งเกิดผลเสียอย่างหนึ่งคือเขา "เทรด" มากเกินไปเพื่อลดความเสี่ยง จึงไม่สามารถสวนตลาดมากๆ ได้ และต้องคอยจับจังหวะทีละนิดละหน่อยแทนพ่อมดการเงิน บอกว่า การเทรดเช่นนี้ทำให้ยากลำบากในการยืมหุ้นมาขาย (Short Position) ถึงแม้จะมีประสบการณ์มากในการช็อตหุ้น แต่ก็ต้องยอมขาดทุนหลายๆ ครั้ง รวมทั้งตกขบวนรถไฟในช่วงที่ตลาดตกต่ำมากที่สุดในช่วงตุลาคม-พฤศจิกายน เมื่อปีที่ผ่านมาขณะที่พอร์ตถือหุ้นของเขา (Long Position) ไม่ได้ลดจำนวนหุ้นลงทำให้ขาดทุนอย่างมหาศาล โซรอส รับว่า เขาซื้อหุ้นจำนวนมากของบริษัทผลิตน้ำมันในบราซิลเพราะเชื่อมั่นในการค้นพบหลุมน้ำมันขนาดใหญ่นอกชายฝั่ง หลังจากนั้นราคาหุ้นบริษัทนี้ได้ลดลงถึง 75% นอกเหนือจากนั้นเขายังขาดทุนจากการลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในตะวันออกกลางอีกด้วยแต่โชคยังดีที่ขายหุ้นบริษัทเหมืองแร่ในบราซิลออกไปก่อนที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะดิ่งลง รวมทั้งยืมหุ้นบริษัทเหล็กมาขายทำกำไรได้ ถึงอย่างไรเขาก็พลาดโอกาสที่จะลงทุนในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์โดยตรง เพราะประสบการณ์สอนเขาว่า มันยากที่จะซื้อขายในตลาดนี้นอกจากนี้ โซรอส ยังรับว่า "ขาดทุนกำไร" กับค่าเงินดอลลาร์เพราะปิดสถานะพอร์ตก่อนที่ดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นอย่างมาก แต่ทำกำไรได้ในการลงทุนในประเทศอังกฤษ เพราะคาดว่าดอกเบี้ยระยะสั้นจะลดลงรวมทั้งทำกำไรจากการขายช็อตเงินยูโร และยังทำกำไรจากตลาดเครดิตในช่วงที่ตลาดเงินกำลังล่มสลาย ทั้งนี้ ในช่วงปลายปี 2551 เขาคาดว่าเงินดอลลาร์จะอ่อนค่าลง ทำให้เขาทำกำไรได้จากการขายช็อตเงินดอลลาร์ การลงทุนในดอลลาร์ครั้งนี้ทำให้ผลตอบแทนในปี 2551 กลับมาเป็นบวก 10% หลังจากที่ขาดทุนมาตลอดหลายเดือนก่อนหน้านั้นจะเห็นว่าแม้แต่นักลงทุนระดับโลกอย่าง จอร์จ โซรอส ถึงแม้เขาจะทำนายการเกิดของวิกฤติได้ล่วงหน้า แต่ยังเกือบเอาตัวเองไม่รอด ถือว่าปีที่ผ่านมาเป็นปี "ปราบเซียน" อย่างแท้จริง

ด้านที่ 9 


กลยุทธ์การลงทุนของ Soros เน้นไปที่การทำกำไรระยะสั้น หาผลตอบแทนในทุกรูปแบบจากตลาด (Absolute Return) ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ค่าเงิน หรือสินค้าโภคภัณฑ์ แต่คำว่า "สั้น" อาจกินเวลาเป็นเดือน หรือเป็นปี โดย Soros ไม่เชื่อในทฤษฏี Efficient Market Hypothesis (EFM) ที่บอกไว้ว่า ราคาหุ้นได้สะท้อนข่าวและข้อมูลในอดีต รวมถึงการคาดการณ์ในอนาคตไปหมดแล้ว จึงไม่มีทางที่นักลงทุนจะเอาชนะตลาดได้อย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งหนึ่งที่แตกต่างของ Soros คือ "ทฤษฎี Reflexivity" ซึ่งเขาได้รับรากฐานความคิดมาจาก Sir Karl Raimund Popper นักปรัชญาและศาสตร์จารย์แห่ง London School of Economics ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นปราชญ์เกี่ยวกับวงการวิทยาศาสตร์ที่เก่งที่สุดในทศวรรษที่ 20 

Reflexivity อธิบายไว้ว่า จุด Equilibrium หรือ จุดดุลยภาพ มีไว้แค่เป็นจุดอ้างอิง แต่จริง ๆ แล้ว ทุกสิ่งในสังคมเราไม่เคยอยู่ในจุดนั้น ตลาดหุ้นก็เช่นกัน สาเหตุก็เกิดจากมีแรงบางอย่างส่งผลให้เกิด “Negative Feedback” ซึ่งทำให้ราคานั้นวิ่งออกจากจุดดุลยภาพไปอย่างมาก ตลาดหุ้นจึงมีแนวโน้มที่จะมี boom & burst ไปเรื่อย ๆ เป็นวงจรอยู่อย่างนั้น

ลองดูตัวอย่าง Negative Feedback จากปัญหาหนี้ยุโรป (Euro Debt Crisis) กล่าวคือ เมื่อมีข่าวร้ายเกิดขึ้นในตอนแรก ข่าวร้ายต่อ ๆมาก็จะทยอยออกมาเรื่อย ๆ และส่งผลต่อปัจจัยพื้นฐานของตลาดด้วย ตอนแรก เริ่มจากกรีซหนี้บวก Debt-to-GDP โตเกิน 100% >> รัฐบาลประกาศใช้แผนรัดเข็มขัด >> แต่ประชาชนประท้วงไม่ยอมให้หักสวัสดิการและเงินเดือน >> ขอความช่วยเหลือจากกลุ่ม EU >> ต้องรัดเข็มขัดเพิ่มอีก >> ประท้วงอีก >> S&P และ Moody’s ทนไม่ไหว ก็ประกาศ Downgrade ตราสารหนี้ของกรีซกลายเป็น Junk Bond >> Cost of Funding สูงขึ้นทันทีอย่างรวดเร็ว >> รัดเข็มขัดเพิ่มขึ้นอีก ซึ่ง การ Downgrade ของ Credit Rating Agency (CRA) นั้น ใช้ข้อมูลในอดีตมาประเมินส่วนใหญ่ และคาดการณ์ว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไร ซึ่งอนาคต เป็นสิ่งที่ไม่มีใครรู้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจาก Negative Feedback ก็คือ พอนักลงทุนเห็นกรีซกลายเป็นขยะ อารมณ์ก็ยิ่งแย่ ยิ่งขายหนักขึ้นไปอีก มันช่างสวนทางกับสิ่งที่กรีซต้องการ ณ ขณะนี้เป็นอย่างมาก นั้นก็คือ อยากให้ต้นทุนการกู้ยืมต่ำลง (Capital Requirement) เพื่อฟื้นฟูจะประเทศในระยะยาว แต่ตอนนี้ก็ดูเหมือนทุกอย่างจะสายเกินไปแล้ว

และลองมาดูตัวอย่างของ Positive Feedback กันดูบ้าง เช่น


ราคาบ้านในอเมริกาปรับตัวสูงขึ้น >> ประเมินหลักทรัพย์ ได้วงเงินเพิ่ม ก็ไปกู้มาเพิ่ม >> ได้เงินกู้มา ก็เอาไปซื้อบ้านเพิ่มอีก >> ราคาบ้านก็ปรับตัวสูงขึ้นอีก >> แต่สุดท้าย ตลาดก็ตระหนักถึงความจริงที่ว่า มีแต่ผู้ซื้อเก็งกำไร แต่ไม่มีคนอยู่จริง ๆ เมื่อนั้น วิกฤต Subprime ก็มาเยือน เมื่อปี 2008 แต่ก่อนหน้านั้นประมาณ 10 ปี ราคาบ้านเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ GDP อเมริกาโตมาได้ขนาดนี้

โดยสรุป เมื่อดูจากตัวอย่างแล้วจะเห็นว่า ไม่ใช่แค่ปัจจัยพื้นฐานเท่านั้นส่งผลต่อราคาหุ้น แต่ตัวราคาหุ้นเอง ยังส่งผลต่อปัจจัยพื้นฐานของตัวหุ้นมันเองอีกด้วย ไม่ว่าจะทิศทางไหน ขึ้นหรือลงก็ตาม


จะขอยกตัวอย่าคำที่ว่า "ราคาหุ้นส่งผลต่อปัจจัยพื้นฐานของตัวหุ้น" จากเหตุการณ์น้ำท่วม ดังนี้
เหตุการณ์น้ำท่วม ทำให้่สถาบันต่าง ๆ ออกมาบอกว่า GDP ไทยปี 2554 จะลดลง และปรับลดประมาณการ GDP ปี 2555 คาดว่า กำไรบริษัทจดทะเบียนในหลาย Sector จะลดลง แต่อยู่ดีๆ หุ้นไทยก็ทะลุ 1,000 จุดขึ้นมาแล้ว เพราะเก็งว่า กระทบไม่เยอะ ระยะยาวยัง OK อยู่ ทั้ง ๆ ที่เอาเข้าจริง ตอนนี้ก็ไม่มีสัญญาณอะไรบอกเรามาเลยว่า รัฐบาลมีมาตรการอะไรออกมากระตุ้น หรือบริษัทจะกำลังดำเนินการผลิตได้ทันจริง ๆ ไหม แต่ถ้าตลาดหุ้นวิ่งขึ้นต่อไป ความมั่งคั่งของนักลงทุนในตลาดโดยรวมก็ยังเพิ่มขึ้น ความเชื่อมั่นของนักลงทุนก็จะกลับมา ใครลงทุนแล้วกำไรในรอบนี้ มีสภาพคล่องมากขึ้น หันมาเจอหุ้นที่ถูกมองว่าแย่ ๆ เพราะเจอน้ำท่วม ก็ช้อนซื้อไว้ ไป ๆ มา ๆ ราคาหุ้นไม่ลง แต่วิ่งตามชาวบ้านเขาขึ้นไปได้อีก

ด้านที่ 10 


SOROS vs BUFFET


สิ่งที่ต่างกัน 


ด้วยทฤษฏีนี้ที่ว่า ราคาหุ้นจะวิ่งออกจากจุดดุลยภาพไปอย่างมาก ทำให้ Soros กล้าที่จะทุ่มเงินจำนวนมหาศาลกับการเก็งกำไร เพื่อรอคอยจุดกลับตัวของตลาด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเก็งว่าตลาดจะ Burst มากกว่าจะเก็งว่า Boom เลยถูกมองว่าเป็น“Satan” 


ซึ่งตรงกันข้ามกับ Warren Buffet ที่ทำกำไรจากการลงทุนเข้าซื้อและถือในระยะยาวเท่านั้น แถมตลาดตกลงมาซักระยะ ยังพยายามหาโอกาสเข้าไปช้อนซื้อ ทำให้ภาพของ Buffet เป็นเหมือน “Santa” ในสายตาของนักลงทุนทั่วโลก

สิ่งที่เหมือนกัน


- เขาทั้งคู่เริ่มจากคำว่า "รวย" เป็น "โคตรรวย" ด้วยการทุ่มและเชื่อมั่นในการตัดสินใจของตัวเอง ส่วนการกระจายความเสี่ยง (Diversification) ในพอร์ตการลงทุน เกิดขึ้นหลังจากที่พอร์ตการลงทุนของทั้งสองใหญ่จนไม่รู้จะเอาไปซื้ออะไรแล้ว
- ทั้งคู่ไม่เคยตั้งเป้าหมายการลงทุนว่าจะได้กำไรเท่าไร นั่นหมายถึง "เงิน" ไม่ใช่เป้าหมายสำคัญที่สุดในการลงทุนของทั้งสอง 
- ทั้งคู่ ไม่อ่าน Research ที่มีอยู่เกลื่อนตลาด แต่ใช้วิธีศึกษาด้วยตัวเอง และทีมงานของตัวเอง


ที่มา : 
- http://prainternet.fix.gs/index.php?topic=174
- http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I11446062/I11446062.html


วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

24 เคล็ดลับการลงทุนง่าย ๆ สไตล์วอร์เร็น บัฟเฟตต์



1. เลือกความเรียบง่ายมากกว่าความซับซ้อน


บัฟเฟตต์ แนะนำว่า  “เมื่อลงทุน ควรคำนึงถึง … ความเรียบง่าย ชัดเจน
อย่าพยายามหาคำตอบที่ซับซ้อน จากคำถามที่ซับซ้อน”
จำไว้ว่า ความยากไม่มีในการลงทุน
มองหาบริษัทที่มีประวัติยาวนาน และสามารถคาดเดาอนาคตของธุรกิจได้
ถ้าคุณไม่เข้าใจธุรกิจ … ก็อย่าซื้อหุ้น

2. ตัดสินใจลงทุนด้วยตัวคุณเอง


อย่าเชื่อโบรกเกอร์ นักวิเคราะห์ หรือผู้รู้ …จงเชื่อตัวคุณเอง
เมื่อคุณพบที่ปรึกษาทางการลงทุนหรือนักลงทุนมืออาชีพ
จงถามว่า “พวกคุณจะได้อะไรจากผม ???”
ถ้าคำตอบไม่เป็นที่น่าพอใจ คุณก็ควรจะเดินหนีไปซะ
การลงทุนแบบเน้นคุณค่าพิสูจน์แล้วว่า จะสร้างผลตอบแทนที่ดีมากในระยะยาว

3. จงมีสติ


บัฟเฟตต์แนะนำว่า ปล่อยให้คนอื่น ๆ ตื่นตระหนกไปกับตลาดแล้ว
เมื่อมันสงบ … คุณจะได้ประโยชน์จากมัน
อย่าคิดจะเป็นเจ้าของหุ้น ...
ถ้ามันจะทำให้คุณตื่นตระหนก และขายหุ้นของคุณเมื่อราคาตกลง 50%

นอกจากนั้น บัฟเฟตต์ยังมีข้อแนะนำเมื่อ ... หุ้นตก
คำแนะนำ 3 ข้อ ในยามที่ ... ตลาดหุ้นตก คือ
ข้อที่ 1  เกาะติดอยู่กับบริษัทที่ดี
ข้อที่ 2  รู้จักตัวเอง
ข้อที่ 3  อย่าตัดสินใจลงทุน เพราะมีคนอื่นมากระซิบหุ้นเด็ด





4. จงอดทน

บัฟเฟตต์แนะนำให้คิดถึงระยะเวลาเป็น 10 ปี แทนที่จะเป็น 10 นาที
ถ้าคุณไม่สามารถจะถือหุ้นได้เป็นทศวรรษ … ก็อย่าซื้อหุ้นตั้งแต่แรก
อย่าหมกมุ่นอยู่กับราคาหุ้น
จงศึกษาพื้นฐานของธุรกิจ ความสามารถในการสร้างกำไร อนาคตของบริษัท และอื่น ๆ
เวลาเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของธุรกิจ

5. ซื้อธุรกิจไม่ใช่แค่ซื้อหุ้น

ถ้าคุณซื้อหุ้นของบริษัทที่ดีแล้ว ปล่อยให้คนอื่น ๆ กังวลเรื่องตลาดหุ้นไปเถิด
ผลประกอบการของธุรกิจ คือ กุญแจสำคัญของการเลือกซื้อหุ้น
ให้ศึกษาผลการดำเนินงานในอดีตของบริษัทที่อยู่ในรายการหุ้นที่คุณสนใจ
จงมองหาความแน่นอนในตลาดที่ไม่แน่นอน ธุรกิจจะสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาวเท่านั้น

6. จงมองหาบริษัทที่มี… แฟรนไชส์

ธุรกิจบางประเภทนี้ จะเป็นเสมือนธุรกิจที่มีกำแพง และคูเมืองล้อมรอบอยู่ ซึ่งสามารถป้องกันศัตรูได้
ธรกิจที่เป็นแฟรนไชส์ ... ต้องขายผลิตภัณฑ์หรือบริการที่
1.) จำเป็นหรือตอบสนองความต้องการ
2.) ไม่ต้องการเงินลงทุนที่มากเกินไป
3.) เป็นผู้นำตลาด และไม่มีคู่แข่งที่ใกล้เคียง
4.) สามารถขึ้นราคาสินค้าหรือบริการได้อย่างอิสระ




7. ซื้อหุ้นโลเทค ไม่ใช่ … หุ้นไฮเทค

เขาจะหลีกเลี่ยงบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงบ่อย และลงุทนในธุรกิจ “คลื่นลูกเก่า”
บริษัทใช้เวลาเป็นทศวรรษ เพื่อที่จะกลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่
ในโลกของบัฟเฟตต์ การประสบความสำเร็จในการลงทุน
มักจะเกี่ยวกับเครื่องของ อิฐ  พรม  สี  และลูกอม (ซีส์ แคนดี้)
และไม่ควรถูกยั่วยุด้วยความอยากรวยเร็ว หรือไปสนใจบริษัทที่ไม่สามารถที่จะคาดเดาอนาคตได้

8. จงหลีกเลี่ยงการลงทุนในแบบที่บัฟเฟตต์เรียกว่า “เรือของโนอาร์”

คือ ซื้อโน่นนิดนี่หน่อย จะดีกว่าถ้าลงทุนมาก ๆ ในหุ้นน้อยตัว
เมื่อคุณมั่นใจว่า ธุรกิจนั้นมีความเข้มแข็ง
จงมั่นใจ และอย่าลังเลที่จะซื้อหุ้นเพียงไม่กี่ตัว …ในจำนวนที่มากๆ
แทนที่จะซื้อหุ้น … 15-20 บริษัทที่พอใช้ได้

9. ฝึกที่จะอยู่นิ่ง

สัญญาณของความสำเร็จในการลงทุน คือ
ความสามารถที่จะปล่อยวางให้เวลาผ่านไปโดยไม่ต้องเคลื่อนไหว
อย่าซื้อขาย เพราะเห็นแก่กำไรเล็ก ๆ น้อย ๆ
การซื้อขายมาก ๆ เป็นเครื่องหมายการค้าของนักลงทุนที่โลเล
ซึ่งมักจะจบลงด้วยการขาดทุนมากกว่าจะกำไร

10. อย่ามอง … ราคาหุ้น

ราคาเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของตัววิ่ง  แต่การลงทุนเป็นอะไรที่มากกว่าราคา
ให้เตือนตัวเองอยู่เสมอว่า หลีกเลี่ยงจากตัววิ่ง และละเว้นจากการดูราคาหุ้นทุก ๆ วัน
วอเร็น บัฟเฟตต์ ไม่เคยรู้ว่า บริษัท เบิร์กไชร์ ฮาธาเวย์ ของเขาซื้อขายกันที่ราคาเท่าไร ?
ไม่ว่าจะเป็นวานนี้ วันนี้ หรือวันพรุ่งนี้ แต่เขาสนใจว่าจะซื้อขายกันที่ราคาเท่าใดในทศวรรษหน้า
เพราะนั่นคือการวัดศักยภาพ และมูลค่าที่แท้จริงของบริษัท


11. มองตลาดหุ้นขาลง ให้เป็นโอกาส


ตลาดหุ้นขาลงไม่ได้ฆ่าใคร แต่กลับเป็นโอกาสในการซื้อหุ้น
ถ้าผู้คนเริ่มวิ่งหนีออกจากหุ้นดี ๆ จงเตรียมพร้อมที่จะลุยไปกับหุ้น
จงมองหาบริษัทที่มีคุณภาพที่กำลัง “ลดราคา” นั่นหมายถึง พื้นฐาน และคุณภาพของทีมบริหาร
“นักลงทุนจะไม่ขาดทุน  เมื่อตลาดปรับตัวลง จะมีก็เพียงนักเก็งกำไรเท่านั้นที่จะขาดทุน”

12. อย่าตีบอลทุกลูกที่ขว้างมา


บัฟเฟตต์ชอบเปรียบเทียบแนวทางการลงทุนของเขากับเรื่องของเบสบอล
เขาเปรียบนักลงทุนว่าเหมือนกับผู้เล่นที่ถือไม้
และพร้อมที่จะตีลูกทุกลูก…ที่ถูกขว้างเข้ามาหา

ในขณะที่ตลาดหุ้นก็เหมือนกับผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
ซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องขว้างลูกมาให้ …. นักลงทุนตีอยู่ตลอดเวลา
เขาแนะนำว่า “อย่าตีบอลทุกลูกที่ขว้างมา”
จงอดทนแล้วปล่อยให้ลูกบอลที่ตียาก ๆ  ถูกขว้างผ่านไป
ให้รอเฉพาะ … ลูกสวย ๆ ตีง่าย ๆ ที่ถูกขว้างมาแล้วค่อยตี

13. อย่าสนใจเรื่องใหญ่ ๆ จงสนใจแต่…เรื่องเล็ก ๆ


เรื่องใหญ่ ๆ อย่างเรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจ
เป็นเรื่องภายนอกธุรกิจ อย่าไปใส่ใจกับมัน
จงสนใจแต่เรื่องเล็ก ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโดยตรง

14. บัญญัติ 10 ประการ ในการดูบริษัท

บัฟเฟตต์ จะมองหาธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ที่มาพร้อมกับผู้บริหารที่ยิ่งใหญ่เสมอ ดูได้ดังนี้
1.) ทีมผู้บริหารทำงานเพื่อผู้ถือหุ้น หรือทำงานเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้ตัวเขาเอง ?
2.) ผู้บริหารใช้งบประมาณของบริษัทอย่างรอบคอบ หรือเป็นผู้บริหารที่ใช้เงินสิ้นเปลือง ?
3.) ผู้บริหารทุ่มเท เพื่อเพิ่มมูลค่าของบริษัทให้กับผู้ถือหุ้น และใช้จ่ายเงินอย่างเหมาะสมหรือไม่ ?
4.) ผู้บริหารมีโครงการซื้อหุ้นคืน และไม่ออกหุ้นใหม่ เพื่อที่จะทำให้มูลค่าของหุ้นมีแต่สูงขึ้น ?
5.) ผู้ถือหุ้นถูกปฏิบัติอย่างหุ้นส่วน หรือเป็นเพียงแค่หุ่นไล่กา?
6.) รายงานประจำปีของบริษัท เปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้องตรงไปตรงมาหรือไม่?
7.) ผู้บริหารรายงานข้อมูลทางบัญชีที่ถูกต้อง หรือพยายามปกปิดข้อมูลความเป็นจริง?
8.) ประเมินทีมผู้บริหารก่อนที่คุณจะลงทุน
9.) มองหาบริษัทที่เป็นมิตรกับผู้ถือหุ้น
10.) หลีกเลี่ยงการลงทุนในบริษัทที่มีประวัติไม่ดี

15. บัฟเฟตต์ บอกว่า วอลสตรีทเป็นที่ๆ เดียวที่คนซึ่งมาด้วยรถ Rolls-Royces


ฟังคำแนะนำของคนซึ่งเดินทางมาด้วยรถไฟใต้ดิน
อย่าสนใจกราฟ
กุญแจของการลงทุน คือ ... วินัย และความอดทน
ให้ค้นหา … ความแตกต่างระหว่าง มูลค่าของธุรกิจ vs. ราคาของหุ้นในตลาด

16. ฝึกที่จะคิดให้เป็นอิสระ


อยู่ให้ห่างจากฝูงชนที่แตกตื่น
ถ้าไม่อย่างนั้น ความอลหม่านจะมาเยือนคุณและการลงทุนของคุณ
ทำการบ้านของคุณ
และตัดสินใจเลือกการลงทุนด้วยตัวคุณเอง



17. จงอยู่ในขอบเขตความรอบรู้ของคุณ


จงสร้างโซนของความชำนาญขึ้นมา แล้วอยู่แต่ในโซนนั้น
และอย่าโทษตัวเองถ้าพลาดโอกาสดี ๆ ที่เกิดขึ้นนอกโซนที่คุณสร้างขึ้น
จดรายชื่อธุรกิจและอุตสาหกรรมที่คุณรู้สึกสบายใจด้วย
อย่าสร้างข้อยกเว้นให้กับขอบเขตความรอบรู้ของคุณ
เล่นเกมของคุณ ไม่ใช่เล่นเกมของคนอื่น

18. อย่าสนใจการพยากรณ์ตลาดหุ้น


การทำนายราคาหุ้น หรือหุ้นกู้ในระยะสั้น ๆ นั้นไร้ประโยชน์
อย่าให้การพยากรณ์มายุ่งเกี่ยวกับ ... การตัดสินใจการลงทุนของคุณ
เอาเวลาไปใช้กับการวิเคราะห์ประวัติผลการดำเนินงานของบริษัทดีกว่า
พัฒนากลยุทธ์การลงทุนโดยไม่ต้องพึ่งพาภาพรวมการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้น

19. รู้จักกับ “นายตลาด” และ “ราคาถูกที่ปลอดภัย (Margin of Safety)”


เมื่อเกิดความสับสน จงนึกถึงแนวความคิดของ เบน เกรแฮม
ในเรื่อง “นายตลาด” และให้มองหา “Margin of Safety”
รอจนกว่าเวลาของคุณจะมาถึง คอยจนกว่านายตลาดจะหดหู่
และทำให้ราคาของหุ้นลดลงมากพอ
ที่จะสร้างโอกาสในการซื้อหุ้นในราคาที่ถูกจนปลอดภัย ... ในปริมาณที่เหมาะสม

20. จงตื่นกลัวเมื่อคนอื่นกำลังโลภ และจงโลภเมื่อคนอื่นกำลังตื่นกลัว


คุณสามารถคาดเดาได้อย่างแม่นยำว่า ... ใครจะโลภ ตื่นกลัว หรือโง่เขลา
คุณแค่ไม่รู้ว่าจะเป็นเมื่อไร หรือกำลังเป็นอะไรอยู่เท่านั้น
ซื้อเมื่อคนอื่นกำลังขาย ... และ …ขายเมื่อคนอื่นกำลังซื้อ
จงเตรียมพร้อมที่จะลงทุนอย่างรวดเร็ว เมื่อโอกาสนั้นมาถึง
21. อ่าน อ่านให้มาก แล้วคิดให้ดี


บัฟเฟตต์ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมงต่อวันในการอ่านหนังสือ
และใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมงในการคุยโทรศัพท์ ส่วนเวลาที่เหลือหมดไปกับการ “คิด”
อุตสาหกรรมการลงทุน  นั้นไม่เหมือนกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ
การที่จะลงทุนนั้นต้องสะสมความรู้
และยังมีสิ่งที่คุณไม่รู้อีกมากมาย ซึ่งพร้อมที่จะให้คุณค้นพบ

22. ใช้แรงม้าของคุณให้เต็มที่


คนทั่ว ๆไปมี “เครื่องยนต์ขนาด 400 แรงม้า”
แต่สามารถใช้ได้เพียง 100 แรงม้าเท่านั้น
ใครก็ตามที่สามารถใช้แรงม้าได้เต็มที่จากเครื่องยนต์ขนาดแค่ 200 แรงม้า
ก็สามารถทำได้ดีกว่าคนอื่น ๆ มาก

23. อย่าทำพลาด จงเรียนรู้จากความผิดพลาดของผู้อื่น


ให้ความสำคัญกับการศึกษาความผิดพลาด และเรียนรู้ที่จะไม่ทำมัน
จงระวังคำสัญญาที่พร่ำบอกเกี่ยวกับการรวยเร็ว และผลตอบแทนที่สูงลิ่ว
ซึ่งมันมักจะมาควบคู่กับความเสี่ยงก้อนโตเสมอ

จงกระตือรือร้นที่จะตัดสินใจลงทุนด้วยตัวคุณเอง
และอย่าสละอำนาจการควบคุมพอร์ตการลงทุนของคุณไปให้คนอื่น
จับตาดูต้นทุนอยู่เสมอ
“จงเรียนรู้จากความผิดพลาดของผู้อื่น
มันเป็นสิ่งที่ไร้สาระ….ที่จะทำ ในสิ่งเดียวกับ….ที่คนอื่นเคยทำผิดมาแล้ว”

24. ก้าวสู่การเป็นนักลงทุนผู้รอบรู้


สิ่งที่ดีที่สุดเกี่ยวกับการลงทุนแบบรอบรู้ก็คือ
มันสามารถสร้างความมั่งคั่งให้คุณได้ ถ้าคุณไม่รีบร้อนจนเกินไป
จงต่อสู้กับเสียงรบกวนต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะแห่งความเป็นจริง
ฝึกที่จะพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง
จดสิ่งต่าง ๆ ที่คุณทำถูก จดสิ่งต่าง ๆ ที่คุณทำผิด

จงทำวันนี้ให้มาก และทำวันหลังให้น้อยลง
การลงทุน คือ การหลีกเลี่ยงปัญหาทางธุรกิจให้ได้มากที่สุด
และแก้ปัญหาทางธุรกิจให้น้อยที่สุด
มันเกี่ยวกับการหาและกระโดดข้าม “รั้วที่สูงแค่ 1 ฟุต”
ไม่ใช่การพัฒนาความสามารถพิเศษเพื่อที่จะกระโดดข้ามรั้วที่สูง 7 ฟุต




วอร์เรน บัฟเฟตต์ ไม่ใช่ ... “ผู้มีอภินิหาร”
วอร์เรน บัฟเฟตต์ ไม่ใช่ ... “ซูเปอร์แมน”
แต่เขาเป็น ... มหาเศรษฐีอันดับ 2 ของโลก
ด้วยวิธีง่าย ๆ 24 ข้อนี้แหละ ... ที่ทำให้เขา “เป็น”
ใครอยากเป็นนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่เหมือน … บัฟเฟตต์ บ้างไหม ?
ถ้าอยาก … ต้องเริ่มต้นฝึก  ตั้งแต่เดี๋ยวนี้ วินาทีนี้ เวลานี้ อย่าปล่อยเวลา่ทิ้งไป
แล้ววันนั้นก็จะเป็นของคุณ เป็นกำลังใจให้ทุกคนนะครับ : )

ขอบคุณข้อมูลจากบล็อกของ ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร www.doctorwe.com