วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รู้จัก "จอร์จ โซรอส" พ่อมดการเงินอันโด่งดัง



ด้านแรก 


จอร์จ โซรอส เป็นคนต้นแบบสำหรับคนรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี เขาออกจากบ้านเกิดที่ประเทศฮังการีแบบเสื่อผืนหมอนใบเพื่อไปตายดาบหน้าในต่างประเทศเมื่ออายุ 17 ปี ทำงานทุกอย่างที่ขวางหน้า บางครั้งมีความเป็นอยู่แบบอดมื้อกินมื้อในประเทศอังกฤษ แต่ก็มีความอดทนจนสามารถเรียนจบปริญญาตรีได้ก่อนกำหนด เมื่อย้ายไปอยู่สหรัฐ เขาทุ่มเททำงานแบบหามรุ่งหามค่ำ 


หลักสำคัญในการทำงานของเขา คือ การศึกษาหาความรู้จากการอ่าน อ่าน แล้วก็อ่าน

ด้านที่ 2 


จอร์จ โซรอส ศึกษาวิชาของเขาอย่างแตกฉาน จนสามารถตั้งทฤษฎีใหม่เป็นของตัวเองได้ ทฤษฎีของเขาคงมีส่วนถูกต้อง มันจึงทำให้เขาได้รับผลสำเร็จทางการเงินอย่างใหญ่หลวงเมื่อเขานำไปใช้ในวิชาชีพ ทฤษฎีของเขาอาจหาอ่านได้ในหนังสือ ดังนี้

- เล่มที่เขาเขียนเอง เช่น The Alchemy of Finance: Reading the Mind of the Market (พิมพ์ 2530) และ Soros on Soros: Staying Ahead of the Curve (พิมพ์ 2538)

- เล่มที่ Robert Slater เขียนชื่อ Soros: The Life, Times & Trading Secrets of the World's Greatest Investors (พิมพ์ 2539) 

ด้านที่ 3 


จอร์จ โซรอส เชื่อว่าเงินเป็นเพียงพาหะในการทำกรรมดีอย่างอื่น ฉะนั้นเขาบริจาคเงินจำนวนมากเพื่อการกุศล ส่วนตัวเองมีความเป็นอยู่อย่างธรรมดาๆ ไม่หรูหราเหมือนอภิมหาเศรษฐีส่วนมากในสหรัฐ เขาไม่มีเครื่องบินส่วนตัว ไม่มีเรือยอชท์ ไม่สะสมงานศิลปะแพงๆ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า ไม่เข้าสังคมฟุ่มเฟือยชั้นสูง

ด้านที่ 4 


การโจมตีค่าเงินของจอร์จ โซรอส ให้ทั้งบทเรียนและประโยชน์ต่อคนจำนวนมาก โดยเฉพาะจากการปรับนโยบายเศรษฐกิจของประเทศที่ถูกโจมตี บทเรียนหลักมีอยู่ว่าระบบตลาดเสรีในยุคโลกาภิวัตน์มีพลังสูงมาก ไม่มีรัฐบาลใดจะสามารถต้านทานมันได้โดยการดำเนินนโยบายผิดๆ เป็นเวลานานจนทำให้เศรษฐกิจขาดสมดุลอย่างร้ายแรง แม้แต่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจ เช่น อังกฤษ ยังทำไม่ได้ และเมื่อพยายามก็ถูกนักเก็งกำไร เช่น จอร์จ โซรอส โจมตีจนพ่ายแพ้ เมื่ออังกฤษแพ้และยอมลดค่าเงินปอนด์ ชาวอังกฤษจำนวนมากได้ประโยชน์จากการขยายตัวของการส่งออก เพราะสินค้าอังกฤษราคาต่ำลง ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดโลกมากขึ้น

ด้านที่ 5 


จอร์จ โซรอส ไม่มีสัญชาตญาณในการอ่านเหตุการณ์เหนือคนอื่น แต่เขาอ่านเหตุการณ์ถูกมากกว่าผิด เพราะเขาค้นคว้าและแสวงหาข้อมูลชนิดหามรุ่งหามค่ำมากกว่าคนอื่น การพูดได้หลายภาษาเอื้อให้เขาติดตามการวิเคราะห์เหตุการณ์ได้จากหลายมุมมองกว่าผู้ที่รู้เพียงภาษาเดียว เขาติดตามอ่านวารสารวิชาชีพถึง 30 ชนิด เพื่อจะเรียนรู้ว่าคนในอาชีพไหนกำลังคิดอะไร ทุกวันเขาอ่านรายงานประจำปีของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ 20-30 เล่ม เขาติดตามข่าวตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม หรือดินฟ้าอากาศ เพราะทุกอย่างมีผลกระทบต่อตลาดไม่มากก็น้อยเขานำสิ่งเหล่านั้นมาประกอบกันเพื่อวิเคราะห์ว่าจะนำเงินทุนไปซื้ออะไร ที่ไหน และเมื่อไร เพราะกิจการเก็งกำไรครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นหุ้น พันธบัตร เงินตรา ทองคำ วัตถุดิบของอุตสาหกรรม น้ำมัน สินค้าเกษตรหรืออนุพันธ์ต่างๆ 

ด้านที่ 6 


ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ (Reflexivity) จะเกิดมาจากผลกระทบของกลุ่ม Participant ได้เข้าไปกระทำ Actions ในตลาดนั่นเอง ซึ่งตลาดจะเป็นกระจกสะท้อนผลลัพธ์ดังนั้นหัวใจของ Soros ขั้นแรก ก็คือ Boom Bust Model ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากและโซรอสใช้ในการมองแบบ Macro View มาโดยตลอด ขั้นแรกของการก่อตัวของ ฟองสบู่ก็คือ (Boom)  ความเชื่อของ Participant บางกลุ่มในตลาดได้กระทำ Actions ต่อตลาด และเมื่อตลาดตอบสนองในทิศทางที่พวกเค้าเหล่านั้นคิด ก็จะทำให้พวกเค้าเหล่านั้นเชื่อมั่นในความคิดของตัวเองว่าถูกต้อง กล่าวคือ Participant จะยึดติดความถูกต้องของตัวเองกับสิ่งที่ตลาดสะท้อนกลับออกมาให้เห็น  แล้วเมื่อทิศทางตลาดตอบรับความเชื่อของเค้าเหล่านั้นเค้าก็จะยิ่งมั่นใจมากขึ้นและความมั่นใจของเค้ารวมทั้งการตอบสนองของตลาด เหล่านี้เองจะสร้าง ความเชื่อใหม่ๆให้แก่กลุ่มบุคคลที่อยู่ภายนอกตลาดกล่าวคือ Observer นั่นเอง ซึ่งฟองสบู่จะค่อยๆขยายตัวออกตามอัตราที่ Observer เหล่านี้ค่อยๆเข้ามากลายเป็น Participant ซึ่งจะเป็นไปดัง Functions ดังต่อไปนี้ Observer ------>   Participant -------->  Market Feed Back (สอดคล้องความเชื่อ ได้รับผลตอบแทนที่ดี)จาก Functions ของโซรอส เราจะเห็นได้ว่า ยิ่งตลาดตอบสนองสอดคล้องไปในทิศทางที่เราต้องการให้เป็นมากเท่าไร อัตราการเร่งก็จะยิ่งเร่งให้ Observer เข้ามาเป็น Participant มากขึ้น กว่า Rate อัตราปกติที่ตลาดจะรับได้ต.ย. เช่น ราคาทองคำ ที่ปรับตัวสูงขึ้น ต่อเนื่อง ตามความเชื่อของกลุ่มคนในตลาด Commodity บางกลุ่ม และราคาได้ตอบสนองต่อความเชื่อเหล่านั้น ซึ่งจะเป็นอัตราเร่งความมั่นใจ และสร้างความเชื่อว่าความคิดเหล่านี้ถูกต้อง จนส่งผ่านมาถึงผู้คนภายนอกตลาด แต่แน่นอน การซื้อทองคำเพื่อลดผลกระทบจากการด้อยค่าของเงินสกุลหลักๆเป็นสิ่งที่ทำมานานแล้ว แต่การอัตราการเข้ามาที่เร็วเกินไปตามความเชื่อของ Observer ที่คล้อยตามนั้นทำให้ตลาด สะท้อนกลับออกมาในทิศทางที่ตรงกันข้ามนั่นเอง  และหากตลาดสะท้อนในทิศทางความเชื่อที่ตรงกันข้ามเหล่านี้ต่อไป คนอีกกลุ่มซึ่งคิดสอดคล้องกับตลาดในทิศทางก็จะเริ่มมั่นใจในเหตุผลบางอย่าง ว่าถูกต้อง และส่งผ่านความเชื่อนี้ออกไปให้กับ Participant คนอื่นๆเริ่มรับรู้ และคล้อยตาม เช่น ธนาคารกลางซึ่งเริ่มลดการถือครองทองคำลงด้วยเหตุผลบางอย่าง อะไรเหล่านี้เป็นต้น สุดแท้แต่ความเชื่อ และยิ่งหากตลาดแสดงผลลัพธ์สอดคล้องไปในทิศทางความเชื่อของคนกลุ่มนี้ ความเชื่อก็จะเริ่มมีน้ำหนักขึ้นเรื่อยๆๆ จนหลายคนเริ่มคล้อยตามและคิดว่าถูกต้อง  ซึ่งหากผลกระทบเหล่านั้นรุนแรงและเจ็บปวดมาก Participant บางพวกก็จะค่อยๆทยอยออกจากตลาดไป  เป็น Loop แบบนี้วนไปเรื่อยๆ โดยที่ Observer และ Participant อาจจะเป็นคนกลุ่มใหม่ๆผลัดเวียนเปลี่ยนไปอยู่เสมอหรือคนเก่าก็ได้

ด้านที่ 7 


Mr.Soros & His Reflexivity


จอร์จ โซรอส มีแนวคิดว่าตลาดหุ้นทำงานอย่างไรที่ค่อนข้างแตกต่างจากคนอื่น เขาเรียกโมเดลของเขาว่า Reflexivity...โซรอสมองว่าในตลาดหุ้นจะมีความลำเอียงหลักของตลาดอยู่เสมอ นักลงทุนแต่ละคนต่างมีความลำเอียงเป็นของตัวเองซึ่งแรงซื้อแรงขายจะทำให้ความลำเอียงเหล่านั้นหักล้างกันไปส่วนหนึ่ง แต่ไม่ว่าจะหักล้างกันยังไงก็จะยังเหลือความลำเอียงส่วนหนึ่ง ที่หักล้างไม่หมดและกลายเป็นความลำเอียงหลักที่ครอบงำทั้งตลาดในขณะนั้นๆ อยู่ ความลำเอียงหลักทำให้ตลาดไม่เคยอยู่ที่จุดสมดุล มีแต่มากไปกับน้อยไป ราคาหุ้นจะเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มที่แท้จริงของมันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานบวกด้วยความลำเอียงหลักที่ทำให้ราคาหุ้นขึ้นหรือลง มากหรือน้อยกว่าที่ควรจะเป็นตามปัจจัยพื้นฐานแต่แค่นั้นยังไม่พอ การเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นที่เกิดขึ้นจะย้อนกลับมามีอิทธิพลกับแนวโน้มที่แท้จริงและความลำเอียงหลักอีกที ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มที่แท้จริงกับ ความลำเอียงหลักที่มีต่อราคาหุ้น ไม่ใช่ความสัมพันธ์แบบทางเดียว แต่เป็นความสัมพันธ์แบบสองทิศทาง พูดง่ายๆ ก็คือ ยิ่งราคาหุ้นขึ้น ความลำเอียงของตลาดว่าหุ้นขึ้นจะยิ่งมากขึ้น และทำให้ราคาหุ้นยิ่งขึ้นต่อไปอีก การที่มุมมองของนักลงทุนส่งผลต่อราคาหุ้นแล้วทำให้ราคาหุ้นกลับมาส่งผลต่อมุมมองของนักลงทุนอีกทีนี้เองที่โซรอสเรียกว่า Reflexivity ในตลาดหุ้น ปฏิสัมพันธ์แบบสองทางนี้ทำให้การทำนายราคาหุ้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมากถ้าเรามีสมมติฐานเกี่ยวกับกลไกในตลาดหุ้นว่าเป็นแบบนี้ เมื่อใดที่มุมมองของนักลงทุนกับการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นมีลักษณะส่งเสริมกันเอง เมื่อนั้นราคาหุ้นจะวิ่งออกจากปัจจัยพื้นฐานออกไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดฟองสบู่ และจะเป็นเช่นนั้นอยู่จนกว่าพวกมันจะขัดขากันเองซึ่งจะทำให้เกิด market correction ขึ้น ตลาดหุ้นจึงมีแนวโน้มที่จะมี boom และ burst อยู่ร่ำไป แทนที่จะพยายามวิ่งเข้าสู่จุดสมดุลเองตลอดเวลาเหมือนอย่างที่ทฤษฏีทางการเงินบอกไว้ และกลยุทธ์ของโซรอสก็คือการพยายามทำกำไรจาก boom และ burst เหล่านี้โซรอสบอกว่าพวก neoclassical คิดถูกที่เชื่อว่าตลาดเสรีดีที่สุด แต่ผิดตรงที่เชื่อว่าตลาดเสรีมีเสถียรภาพ ส่วนพวก keynesians นั้นผิดตรงที่เชื่อว่า การแทรกแซงโดยรัฐฯ จะช่วยสร้างเสถียรภาพได้ โซรอสเชื่อว่านั่นจะยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง ตลาด unstable อยู่แล้วโดยธรรมชาติและไม่มีอะไรที่จะเปลี่ยนมันได้แนวคิดที่สำคัญมากของ Reflexivity คือ ราคาหุ้นส่งอิทธิพลต่อปัจจัยพื้นฐานได้ด้วย ไม่ใช่ปัจจัยพื้นฐานส่งผลต่อราคาหุ้นอย่างเดียว เช่น บริษัทที่ใช้ M&A เป็นกลยุทธ์ในการเติบโต ถ้าราคาหุ้นของบริษัทสูงลิ่ว บริษัทย่อมสามารถระดมทุนได้ในราคาต่ำ ทำให้มีเงินต้นทุนต่ำมาซื้อกิจการ ซึ่งจะยิ่งทำให้กำไรเติบโตได้ง่ายขึ้น หรือในช่วงเวลาที่ตลาดอสังหาตกต่ำ ถ้าอยู่ดีๆ ตลาดหุ้นขึ้นแรงเนื่องจากตลาดเก็งล่วงหน้าว่าอสังหากำลังจะฟื้นทั้งที่ยังไม่มีสัญญาณใดๆ เลยที่ทำให้เชื่อได้ว่าอสังหากำลังจะฟื้น แต่ถ้าตลาดหุ้นยังขึ้นต่อไปเรื่อยๆ ความมั่งคั่งของคนในตลาดย่อมเพิ่มขึ้น ที่สุดแล้วก็จะทำให้มีคนมีสภาพคล่องมาช้อนซื้ออสังหาราคาถูก ทำให้ตลาดอสังหาฟื้นได้จริง เป็นต้น โซรอสเป็นนักเก็งกำไร ประเภท Global Macro เขาเชื่อว่า การเข้าใจปัจจัยพื้นฐานนั้นเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แต่ว่ายังไม่เพียงพอ การมองตลาดแบบ Reflexivity คือสิ่งที่มาช่วยเติมเต็มการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานในส่วนที่ยังบกพร่องอยู่ เพราะนักลงทุนไม่มีวันเข้าใจปัจจัยพื้นฐานได้ครบถ้วน จึงจำเป็นต้องอาศัยการสังเกตจากตลาดในส่วนที่เรายังไม่รู้ด้วย แต่เดิมโซรอสอาศัยปัจจัยพื้นฐานและ Reflexivity ในการทำกำไรจากหุ้นเป็นรายตัว แต่ต่อมาเขาก็เริ่มหันมาหากำไรจากการมองทั้งตลาดแทน เพราะเขามองว่าตัวเขาเองมีความสามารถจำกัดในการทำความเข้าใจอุตสาหกรรมหลายอุตสาหกรรมให้ได้แบบลึกซึ้งอยู่ ในขณะที่เขาสามารถทำความเข้าใจกับระบบเศรษฐกิจและการเงินได้ดีมากกว่า และนั่นก็ได้ทำให้เขาค้นพบแนวทางที่เขามีพรสวรรค์อย่างยิ่งในที่สุด

ด้านที่ 8  


ทำนายการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจอเมริกาไว้ล่วงหน้า เขาเขียนหนังสือเล่มหนึ่งเมื่อเดือนมกราคม 2551 ชื่อ “ยุคใหม่ของตลาดการเงิน” (The New Paradigm for Financial Markets) แม้เขาจะพยากรณ์วิกฤติการเงินครั้งใหญ่ได้ แต่ในเรื่องการลงทุนกว่าที่โซรอสจะฝ่าพิษวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เรามาดูกันว่าปีที่ผ่านมาเขาลงทุนอะไรบ้าง และให้ผลตอบแทนแก่เขาอย่างไรโซรอส กล่าวว่า ถึงแม้เขาจะตั้งรับวิกฤติครั้งนี้เป็นอย่างดี แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้เขาขาดทุนมหาศาลก็คือ การที่ตลาดการเงินในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนาไม่ได้แยกออกจากกันอย่างชัดเจน (Decoupling)ตลาดหุ้นในอินเดียและจีนต่างได้รับผลกระทบมากกว่าตลาดหุ้นในอเมริกาและยุโรปเสียอีก ที่สำคัญเขาไม่ได้ลดการลงทุนในตลาดหุ้นอินเดียเลย ทำให้ปีที่ผ่านมา "ขาดทุน" ในอินเดียมากกว่ากำไรที่เคยได้ในปีก่อนหน้า สำหรับการลงทุนในจีน โชคดีที่ผู้จัดการกองทุนประจำเมืองจีนทำได้ดีในการเลือกหุ้น รวมทั้งการแข็งค่าของค่าเงินหยวนช่วยให้เอาตัวรอดจากการลงทุนในจีนไปได้การขาดทุนจากอินเดียและผลขาดทุนจากผู้จัดการกองทุนทำให้โซรอสต้องใช้การลงทุนแบบ "มาโคร" (Macro Account) เป็น "ตัวช่วย" ซึ่งเกิดผลเสียอย่างหนึ่งคือเขา "เทรด" มากเกินไปเพื่อลดความเสี่ยง จึงไม่สามารถสวนตลาดมากๆ ได้ และต้องคอยจับจังหวะทีละนิดละหน่อยแทนพ่อมดการเงิน บอกว่า การเทรดเช่นนี้ทำให้ยากลำบากในการยืมหุ้นมาขาย (Short Position) ถึงแม้จะมีประสบการณ์มากในการช็อตหุ้น แต่ก็ต้องยอมขาดทุนหลายๆ ครั้ง รวมทั้งตกขบวนรถไฟในช่วงที่ตลาดตกต่ำมากที่สุดในช่วงตุลาคม-พฤศจิกายน เมื่อปีที่ผ่านมาขณะที่พอร์ตถือหุ้นของเขา (Long Position) ไม่ได้ลดจำนวนหุ้นลงทำให้ขาดทุนอย่างมหาศาล โซรอส รับว่า เขาซื้อหุ้นจำนวนมากของบริษัทผลิตน้ำมันในบราซิลเพราะเชื่อมั่นในการค้นพบหลุมน้ำมันขนาดใหญ่นอกชายฝั่ง หลังจากนั้นราคาหุ้นบริษัทนี้ได้ลดลงถึง 75% นอกเหนือจากนั้นเขายังขาดทุนจากการลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในตะวันออกกลางอีกด้วยแต่โชคยังดีที่ขายหุ้นบริษัทเหมืองแร่ในบราซิลออกไปก่อนที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะดิ่งลง รวมทั้งยืมหุ้นบริษัทเหล็กมาขายทำกำไรได้ ถึงอย่างไรเขาก็พลาดโอกาสที่จะลงทุนในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์โดยตรง เพราะประสบการณ์สอนเขาว่า มันยากที่จะซื้อขายในตลาดนี้นอกจากนี้ โซรอส ยังรับว่า "ขาดทุนกำไร" กับค่าเงินดอลลาร์เพราะปิดสถานะพอร์ตก่อนที่ดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นอย่างมาก แต่ทำกำไรได้ในการลงทุนในประเทศอังกฤษ เพราะคาดว่าดอกเบี้ยระยะสั้นจะลดลงรวมทั้งทำกำไรจากการขายช็อตเงินยูโร และยังทำกำไรจากตลาดเครดิตในช่วงที่ตลาดเงินกำลังล่มสลาย ทั้งนี้ ในช่วงปลายปี 2551 เขาคาดว่าเงินดอลลาร์จะอ่อนค่าลง ทำให้เขาทำกำไรได้จากการขายช็อตเงินดอลลาร์ การลงทุนในดอลลาร์ครั้งนี้ทำให้ผลตอบแทนในปี 2551 กลับมาเป็นบวก 10% หลังจากที่ขาดทุนมาตลอดหลายเดือนก่อนหน้านั้นจะเห็นว่าแม้แต่นักลงทุนระดับโลกอย่าง จอร์จ โซรอส ถึงแม้เขาจะทำนายการเกิดของวิกฤติได้ล่วงหน้า แต่ยังเกือบเอาตัวเองไม่รอด ถือว่าปีที่ผ่านมาเป็นปี "ปราบเซียน" อย่างแท้จริง

ด้านที่ 9 


กลยุทธ์การลงทุนของ Soros เน้นไปที่การทำกำไรระยะสั้น หาผลตอบแทนในทุกรูปแบบจากตลาด (Absolute Return) ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ค่าเงิน หรือสินค้าโภคภัณฑ์ แต่คำว่า "สั้น" อาจกินเวลาเป็นเดือน หรือเป็นปี โดย Soros ไม่เชื่อในทฤษฏี Efficient Market Hypothesis (EFM) ที่บอกไว้ว่า ราคาหุ้นได้สะท้อนข่าวและข้อมูลในอดีต รวมถึงการคาดการณ์ในอนาคตไปหมดแล้ว จึงไม่มีทางที่นักลงทุนจะเอาชนะตลาดได้อย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งหนึ่งที่แตกต่างของ Soros คือ "ทฤษฎี Reflexivity" ซึ่งเขาได้รับรากฐานความคิดมาจาก Sir Karl Raimund Popper นักปรัชญาและศาสตร์จารย์แห่ง London School of Economics ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นปราชญ์เกี่ยวกับวงการวิทยาศาสตร์ที่เก่งที่สุดในทศวรรษที่ 20 

Reflexivity อธิบายไว้ว่า จุด Equilibrium หรือ จุดดุลยภาพ มีไว้แค่เป็นจุดอ้างอิง แต่จริง ๆ แล้ว ทุกสิ่งในสังคมเราไม่เคยอยู่ในจุดนั้น ตลาดหุ้นก็เช่นกัน สาเหตุก็เกิดจากมีแรงบางอย่างส่งผลให้เกิด “Negative Feedback” ซึ่งทำให้ราคานั้นวิ่งออกจากจุดดุลยภาพไปอย่างมาก ตลาดหุ้นจึงมีแนวโน้มที่จะมี boom & burst ไปเรื่อย ๆ เป็นวงจรอยู่อย่างนั้น

ลองดูตัวอย่าง Negative Feedback จากปัญหาหนี้ยุโรป (Euro Debt Crisis) กล่าวคือ เมื่อมีข่าวร้ายเกิดขึ้นในตอนแรก ข่าวร้ายต่อ ๆมาก็จะทยอยออกมาเรื่อย ๆ และส่งผลต่อปัจจัยพื้นฐานของตลาดด้วย ตอนแรก เริ่มจากกรีซหนี้บวก Debt-to-GDP โตเกิน 100% >> รัฐบาลประกาศใช้แผนรัดเข็มขัด >> แต่ประชาชนประท้วงไม่ยอมให้หักสวัสดิการและเงินเดือน >> ขอความช่วยเหลือจากกลุ่ม EU >> ต้องรัดเข็มขัดเพิ่มอีก >> ประท้วงอีก >> S&P และ Moody’s ทนไม่ไหว ก็ประกาศ Downgrade ตราสารหนี้ของกรีซกลายเป็น Junk Bond >> Cost of Funding สูงขึ้นทันทีอย่างรวดเร็ว >> รัดเข็มขัดเพิ่มขึ้นอีก ซึ่ง การ Downgrade ของ Credit Rating Agency (CRA) นั้น ใช้ข้อมูลในอดีตมาประเมินส่วนใหญ่ และคาดการณ์ว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไร ซึ่งอนาคต เป็นสิ่งที่ไม่มีใครรู้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจาก Negative Feedback ก็คือ พอนักลงทุนเห็นกรีซกลายเป็นขยะ อารมณ์ก็ยิ่งแย่ ยิ่งขายหนักขึ้นไปอีก มันช่างสวนทางกับสิ่งที่กรีซต้องการ ณ ขณะนี้เป็นอย่างมาก นั้นก็คือ อยากให้ต้นทุนการกู้ยืมต่ำลง (Capital Requirement) เพื่อฟื้นฟูจะประเทศในระยะยาว แต่ตอนนี้ก็ดูเหมือนทุกอย่างจะสายเกินไปแล้ว

และลองมาดูตัวอย่างของ Positive Feedback กันดูบ้าง เช่น


ราคาบ้านในอเมริกาปรับตัวสูงขึ้น >> ประเมินหลักทรัพย์ ได้วงเงินเพิ่ม ก็ไปกู้มาเพิ่ม >> ได้เงินกู้มา ก็เอาไปซื้อบ้านเพิ่มอีก >> ราคาบ้านก็ปรับตัวสูงขึ้นอีก >> แต่สุดท้าย ตลาดก็ตระหนักถึงความจริงที่ว่า มีแต่ผู้ซื้อเก็งกำไร แต่ไม่มีคนอยู่จริง ๆ เมื่อนั้น วิกฤต Subprime ก็มาเยือน เมื่อปี 2008 แต่ก่อนหน้านั้นประมาณ 10 ปี ราคาบ้านเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ GDP อเมริกาโตมาได้ขนาดนี้

โดยสรุป เมื่อดูจากตัวอย่างแล้วจะเห็นว่า ไม่ใช่แค่ปัจจัยพื้นฐานเท่านั้นส่งผลต่อราคาหุ้น แต่ตัวราคาหุ้นเอง ยังส่งผลต่อปัจจัยพื้นฐานของตัวหุ้นมันเองอีกด้วย ไม่ว่าจะทิศทางไหน ขึ้นหรือลงก็ตาม


จะขอยกตัวอย่าคำที่ว่า "ราคาหุ้นส่งผลต่อปัจจัยพื้นฐานของตัวหุ้น" จากเหตุการณ์น้ำท่วม ดังนี้
เหตุการณ์น้ำท่วม ทำให้่สถาบันต่าง ๆ ออกมาบอกว่า GDP ไทยปี 2554 จะลดลง และปรับลดประมาณการ GDP ปี 2555 คาดว่า กำไรบริษัทจดทะเบียนในหลาย Sector จะลดลง แต่อยู่ดีๆ หุ้นไทยก็ทะลุ 1,000 จุดขึ้นมาแล้ว เพราะเก็งว่า กระทบไม่เยอะ ระยะยาวยัง OK อยู่ ทั้ง ๆ ที่เอาเข้าจริง ตอนนี้ก็ไม่มีสัญญาณอะไรบอกเรามาเลยว่า รัฐบาลมีมาตรการอะไรออกมากระตุ้น หรือบริษัทจะกำลังดำเนินการผลิตได้ทันจริง ๆ ไหม แต่ถ้าตลาดหุ้นวิ่งขึ้นต่อไป ความมั่งคั่งของนักลงทุนในตลาดโดยรวมก็ยังเพิ่มขึ้น ความเชื่อมั่นของนักลงทุนก็จะกลับมา ใครลงทุนแล้วกำไรในรอบนี้ มีสภาพคล่องมากขึ้น หันมาเจอหุ้นที่ถูกมองว่าแย่ ๆ เพราะเจอน้ำท่วม ก็ช้อนซื้อไว้ ไป ๆ มา ๆ ราคาหุ้นไม่ลง แต่วิ่งตามชาวบ้านเขาขึ้นไปได้อีก

ด้านที่ 10 


SOROS vs BUFFET


สิ่งที่ต่างกัน 


ด้วยทฤษฏีนี้ที่ว่า ราคาหุ้นจะวิ่งออกจากจุดดุลยภาพไปอย่างมาก ทำให้ Soros กล้าที่จะทุ่มเงินจำนวนมหาศาลกับการเก็งกำไร เพื่อรอคอยจุดกลับตัวของตลาด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเก็งว่าตลาดจะ Burst มากกว่าจะเก็งว่า Boom เลยถูกมองว่าเป็น“Satan” 


ซึ่งตรงกันข้ามกับ Warren Buffet ที่ทำกำไรจากการลงทุนเข้าซื้อและถือในระยะยาวเท่านั้น แถมตลาดตกลงมาซักระยะ ยังพยายามหาโอกาสเข้าไปช้อนซื้อ ทำให้ภาพของ Buffet เป็นเหมือน “Santa” ในสายตาของนักลงทุนทั่วโลก

สิ่งที่เหมือนกัน


- เขาทั้งคู่เริ่มจากคำว่า "รวย" เป็น "โคตรรวย" ด้วยการทุ่มและเชื่อมั่นในการตัดสินใจของตัวเอง ส่วนการกระจายความเสี่ยง (Diversification) ในพอร์ตการลงทุน เกิดขึ้นหลังจากที่พอร์ตการลงทุนของทั้งสองใหญ่จนไม่รู้จะเอาไปซื้ออะไรแล้ว
- ทั้งคู่ไม่เคยตั้งเป้าหมายการลงทุนว่าจะได้กำไรเท่าไร นั่นหมายถึง "เงิน" ไม่ใช่เป้าหมายสำคัญที่สุดในการลงทุนของทั้งสอง 
- ทั้งคู่ ไม่อ่าน Research ที่มีอยู่เกลื่อนตลาด แต่ใช้วิธีศึกษาด้วยตัวเอง และทีมงานของตัวเอง


ที่มา : 
- http://prainternet.fix.gs/index.php?topic=174
- http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I11446062/I11446062.html


2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ14 ธันวาคม 2555 เวลา 00:42

    ชอบบทความนี้มากๆๆ ครับ ผม Wat นะครับ จะสมัครเป็นสมาชิกครับ

    ตอบลบ
  2. ไอ้คนนี้เเหละ ที่ทำให้เรา เจอปัยหาต้มยำกุ้ง ปี40

    ตอบลบ