วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

จริงหรือไม่ ? เป็นลูกจ้างเขา ไม่มีวันรวย !!!

Alyson Shontell เขียนไว้ใน businessinsider.com เมื่อ 10 กค 2555 ว่า คุณไม่มีวันรวยจริง ถ้ามัวแต่ทำงานให้คนอื่นอ้าว ถ้าทุกคนเป็นเถ้าแก่กันหมด แล้วเถ้าแก่จะหาแรงงานมาจากไหนล่ะ

Alyson เล่าว่า ในบทความเมื่อเร็วๆ นี้ของ Jeff Haden เรื่อง "คนรวย รวยได้ไง (How the Rich Got Rich)" มีการสรุปผลสำรวจของสรรพากรสหรัฐประจำปีที่สอบถามผู้เสียภาษี 400 คนที่ขอภาษีคืนสูงที่สุด (กลุ่มนี้มีรายได้เฉลี่ยต่อคนในปี 2009 เท่ากับ 202.4 ล้านดอลลาร์) ได้ผลออกมาว่า พวกเขารวยเพราะ ...




9%       เป็นลูกจ้าง
7%       ได้ดอกเบี้ย
13%     ได้เงินปันผล
20%     เป็นเจ้าของกิจการหรือร่วมหุ้นทำกิจการ
46%     ได้กำไรในการลงทุนในหลักทรัพย์ (Capital gain)


งานวิจัยนี้ระบุว่า 400 คนในงานสำรวจนี้ ได้เงินจากกำไรในการลงทุนในหลักทรัพย์ (Capital gain) เฉลี่ยต่อคนถึง 92.6 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 16% ของ Capital Gain ที่ผู้เสียภาษีทั้งสหรัฐได้รับเลยทีเดียว Jeff Haden จึงสรุปว่า 

1. การเป็นลูกจ้างอย่างเดียว ไม่มีวันรวย
2. การลงทุนโดยไม่ยอมรับความเสี่ยงเลย ไม่มีวันรวย
3. การลงทุนในหุ้นบริษัทใหญ่ๆ อย่างเดียว ก็ไม่ทำให้รวย
4. การเป็นเถ้าแก่ ไม่ว่าจะบริษัทเดียวหรือหลายๆ บริษัท ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว หรือเป็นหุ้นส่วนทำให้รวยจริง 


อ่านมาถึงตรงนี้ สรุปได้ว่า เราไม่มีวันรวย หากเราไม่กล้าเสี่ยง และไม่มีทางรวยจริงๆ ถ้ามัวแต่ทำงานให้คนอื่นนอกจากทำงานให้ตัวเอง

อ่านมาถึงตรงนี้ ยังไม่ต้องรีบร้อนไปลาออกจากงาน แล้วไปเป็นเถ้าแก่กันหมด เพราะมันก็มีข้อยกเว้นบ้าง และหากแห่ไปเป็นเถ้าแก่กันหมด เถ้าแก่ก็ไม่มีแรงงานสิ

เพราะยังมีถึง 46% อันเป็นสัดส่วนสูงที่สุด ที่รวยเพราะได้กำไรในการลงทุนในหลักทรัพย์ (Capital gain)

หมายความว่า เป็นลูกจ้างเขาก็ลงทุนได้ใช่ไหม

ใช่ หากกล้ารับความเสี่ยงในการลงทุน

เป็นลูกจ้างเขา ถ้าเอาแต่ฝากเงินอย่างเดียว หรือมัวแต่ลงทุนในพันธบัตร ตราสารหนี้ ไม่รวยแน่ๆ และอาจจะไม่พอใช้ในบั้นปลายชีวิตเสียด้วยซ้ำ

ทำไมล่ะ

ก็เพราะดอกเบี้ยที่ได้รับมันจะถูกเงินเฟ้อกินไปหมดน่ะสิ





Jim Cramer เจ้าของและผู้จัดทำรายการ Mad Money ช่อง CNBC บอกว่า หุ้นให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนอื่นทุกชนิด (อย่ากลัวความเสี่ยงจนไม่กล้าลงทุนระยะยาวในหุ้น) และมีหุ้นเป็นพันๆ ตัวในตลาดที่ทำให้เรารวยได้ และไม่เกี่ยวกับงานที่เราทำ (ทำงานอย่างเดียวโดยไม่ลงทุน ไม่รวย)”


แต่มันก็ยากที่จะรู้ว่าหุ้นตัวไหนจะให้กำไรเรานะ

ใช่ ไม่งั้น Charlie Munger มือขวาของคุณปู่ Warren Buffet คงไม่บอกหรอกว่า ถ้าการลงทุนมันไม่ยากสักหน่อย ใครๆ ก็รวยแล้วสิแต่หลายคนลงทุนในหุ้นแล้วเจ๊งนะ

ก็ใช่ แต่ก็มีอีกหลายคนที่รวยจากหุ้นไม่ใช่หรือ เมื่อเลือกเองไม่เป็น ก็ลงทุนผ่านกองทุนรวมสิ อืม ... อยากรวยจัง  แต่กลัวเขาทำขาดทุนน่ะสิ

ถ้ากลัวๆ อยากๆ อยู่อย่างนี้ ให้ฟังที่คุณปู่ John (Jack) Bogle ผู้ก่อตั้ง Vanguard บริษัทจัดการกองทุนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอเมริกาดูแล้วกัน

คุณปู่แจ็ค พูดว่า ถ้ารับการขาดทุนในหุ้นสัก 20% ไม่ไหว ก็ไม่ควรไปยุ่งกับหุ้น (ตลาดหุ้นมีความผันผวนสูง ผู้ลงทุนในหุ้นต้องเข้าใจและยอมรับได้)

แล้วจงตัดสินใจเองว่า เราจะเพียงพอที่แค่ไหน  เพราะบางทีคนที่ดูเหมือนรวยมากๆ ก็เป็นยาจกในสายตาเรา เพราะเขาไม่เคยพอก็มีไม่ใช่หรือ  


ขอบคุณเนื้อหาจาก คุณวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ. บัวหลวง จำกัด

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

มารู้จัก Elliott Wave กันเถอะ



หลักการของ Elliot Wave เกิดจาก 3 แนวคิดมารวมกัน คือ
1. Action = Reaction คือ เมื่อมีขึ้น ก็ย่อมมีลง เมื่อหุ้นขึ้นจนเต็มที่แล้ว ก็จะถึงจุดที่มันต้องลง และในทางกลับกัน ถ้าหุ้นมันลงจนถึงจุดอิ่มตัวแล้ว มันก็พร้อมจะเป็นขาขึ้น ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในลักษณะคลื่นต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ
2. คลื่น ประกอบด้วย คลื่นขาขึ้น (Impulse Wave) 5 ลูก ประกอบด้วย 1-2-3-4-5 และ คลื่นขาลง (Corrective Wave) 3 ลูก ประกอบด้วย a-b-c
3. วงจรหุ้นหรือวงจรตลาด 1 รอบ จะประกอบด้วย Impulse Wave และ Corrective Wave ตามนี้ไปตลอด

เมื่อเอา 3 หลักการมารวมกัน จะได้คลื่น ดังภาพด้านล่างนี้




รายละเอียดแต่ละคลื่น
- Impulse Wave

คลื่น 1 เป็นคลื่นแรกหลังจากตลาดปรับฐาน การปรับตัวขึ้นจะยังไม่แรงมาก เพราะนักลงทุนไม่แน่ใจว่าข่าวร้ายหมดไปแล้ว คลื่นนี้ปริมาณการซื้อขายจะเบาบาง แต่แรงขายก็มีไม่เยอะ

คลื่น 2 เป็นการปรับฐานหลักจากนักลงทุนที่ลงทุนไปตั้งแต่คลื่น 1 ได้กำไรมาพอสมควร สาเหตุของการขายทำกำไรระยะสั้นนี้ เพราะนักลงทุนกลุ่มนี้ยังไม่มั่นใจว่าตลาดจะมีโอกาสปรับตัวขึ้นไปต่อหรือเปล่า และอาจมีนักลงทุนที่ขาดทุนตั้งแต่รอบขาลงรอบที่แล้วด้วย เพราะเชื่อว่าเป็นแค่การรีบาวน์ระยะสั้น ๆ เท่านั้น

คลื่น 3 ปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับคลื่น 1 และ 2 ตลาดมีความมั่นในมากขึ้น โดยปกติแล้ว คลื่น 3 นี้ จะเป็นคลื่นที่ได้กำไรมากที่สุด เพราะเป็นคลื่นที่กินระยะเวลานานกว่าคลื่น 1 และ 5 รวมทั้งส่วนใหญ่เป็นคลื่นที่มีความชันมากที่สุดอีกด้วย

คลื่น 4 เมื่อพบจุดสูงสุดของคลื่น 3 ก็จะมีแรงขายออกมา ซึ่งบริเวณนี้ ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นหรือตลาด ได้มาถึงราคาที่เหมาะสมแล้ว หรืออาจมีข่าวร้ายที่มีนัยสำคัญ กระทบต่อราคาหุ้นหรือปัจจัยตลาดอย่างรุนแรง แต่ด้วยภาวะตลาดที่เป็นขาขึ้น นักลงทุนยังมีความเชื่อมั่นสูง จึงทำให้ยังมีแรงซื้อกลับจากนักลงทุนที่ยังเชื่อว่าตลาดไปต่อได้ หรือเกิดจากนักลงทุนที่ตกรถในคลื่น 3

คลื่น 5 วิ่งเพราะอารมณ์ตลาด ในคลื่นนี้ ข่าวดีจะมีเต็มหน้าหนังสือพิมพ์ กลบข่าวร้ายที่มีผลต่อตลาดหมด

- Corrective Wave

คลื่น a นักลงทุนจะขายออกมาในปริมาณมาก บ่อยครั้งเกิดจากข่าวร้ายที่กระทบกับปัจจัยพื้นฐานแบบฉับพลัน

คลื่น b นักเก็งกำไรระยะสั้น และนักลงทุนบางกลุ่ม ยังเชื่อว่าปัจจัยนั้นไม่น่ากระทบกับราคาหุ้นมาก จึงทำการเข้าซื้ออีกครั้ง โดยการรีบาวน์ขึ้นจะไม่สูงกว่าจุดสูงสุดของคลื่น 5

คลื่น c เกิดจากการขายอย่างตื่นตระหนก (Panic Sell) นักลงทุนหมดความหวังกับหุ้นตัวนี้หรือภาวะตลาดในช่วงนั้น โดยในปลายคลื่น c แรงขายจะลดลงเหลือเบาบาง สะท้อนว่า คนที่อยากขายได้ขายออกมาจนใกล้จะหมดแล้ว

กฎและแนวทางการนับคลื่น

Rule 1 : Wave 2 can never retrace more than 100% of wave 1.
กฏข้อที่ 1 : Wave 2 จะต้องไม่ต่ำกว่าจุดเริ่มต้นของ Wave 1

Wave 2 มักจะประกอบด้วยคลื่นย่อย a-b-c ถ้าเรานับคลื่นแล้วเห็นว่า Wave 2 ลงมาแรงกว่าจุดเริ่มต้นของ Wave 1 ให้รู้ทันทีว่า "ผิด" โดยสามารถนำไปใช้เป็นกลยุทธ์ในการเข้าลงทุนในจังหวะที่ดีจุดหนึ่ง ซึ่งก็คือ การเข้าซื้อในช่วงเริ่มต้นของ Wave 3 ตามรูปด้านล่าง




ขั้นที่ 1 ต้องดูว่า ขาลงที่เราเห็น (รูปด้านซ้าย) ลงมาต่ำกว่าจุดเริ่มต้นของคลื่น 1 หรือเปล่า (เส้นประสีแดงด้านล่าง) หากไม่ต่ำกว่า และมีการดีดตัวขึ้นไป ให้เตรียมเงินไว้ทันที

ขั้นที่ 2 หากราคาหุ้นหรือดัชนี สามารถทะลุผ่านจุดสูงสุดของคลื่น 1 ได้ (รูปด้านขวา) นักลงทุนต้อง “ซื้อตาม” (Follow Buy) เพราะมีโอกาสสูงมากที่คลื่นลูกนี้จะเป็นคลื่น 3 ซึ่งเมื่อรวมกับกฏที่ว่า “Wave 3 ต้องไม่สั้นที่สุด”ก็หมายความว่า กำไรจากการเข้าซื้อลงทุนตรงจุดนี้มีสูงมาก

กรณีที่ไม่เป็นอย่างที่เราหวังไว้ ยกตัวอย่างเช่น เด้งแล้ว แต่ไม่สามารถผ่านจุดสุงสุดของคลื่น 1 ไปได้ หรือผ่านไปได้ แต่ดันโดนเทขายลงมาท ำให้ราคาต่ำกว่าจุดสูงสุดของคลื่น 1 อีกครั้ง สิ่งที่ควรทำ คือ "ตัดขาดทุน (Cut Loss)" ออกไปก่อน เพราะรูปแบบโครงสร้างราคาไม่ได้เป็นไปตามที่เรามองไว้

เราสามารถนำหลักการ Elliott Wave ข้อนี้ มาใช้กำหนดกลยุทธ์การลงทุนได้ คือ “Buy The Breakout” หรือ ซื้อเมื่อทำจุดสูงสุดใหม่ (Higher High) ซึ่งนักเทคนิคหลายคนก็นำไปปรับใช้ในการเทรด ถึงแม้นับคลื่นไม่เป็น แต่พอเห็นรูปแบบนี้ ก็ซื้อตาม และมีโอกาสทำกำไรสูงด้วย

Rule 2 : Wave 4 may never end in the price territory of wave 1.
กฏข้อที่ 2 : Wave 4 จะต้องไม่ต่ำกว่า Wave 1

คลื่น 4 เป็นคลื่นปรับฐาน จะลงลึกเท่าไหร่ก็ได้ แต่ต้องไม่ต่ำกว่าจุดสุงสุดของคลื่น 1 หากต่ำกว่า แสดงว่าเรานับ "ผิด" หมด ต้องเริ่มนับใหม่ ในด้านการวางแผนการเทรด สมมติว่าอยู่ในคลื่นลูกที่ 3 ด้วยกฏข้อนี้ เขาจะใช้จุดสูงสุดของคลื่นลูกที่ 1 เป็นแนวรับสำคัญ ทันทีที่หลุดแนวรับดังกล่าวลงมา แปลว่า ราคาหุ้นหรือดัชนีนั้น ๆ เข้าสู่ขาลง จุดนี้จึงถือเป็นจุด Stop Loss ที่สำคัญอีก 1 จุด




ข้อสังเกตประการหนึ่ง คือ ความแรงของคลื่น 4 ส่วนใหญ่จะแรงกว่าคลื่น 2 ซึ่งเป็นคลื่นขาลง (Corrective Wave) เหมือนกัน ความยากก็คือ อาจลงแบบทีเดียวจบ แล้วตามด้วยการเข้าสู่คลื่น 5 ทันทีก็ได้ ดังนั้น นักลงทุนที่เข้าลงทุนในช่วงนี้ จะต้องทนทั้งความผันผวนที่สูงขึ้น และ Upside จากการลงทุนน้อยกว่านักลงทุนที่ลงทุนในช่วงคลื่น 3 ถ้าใครจะลงทุนช่วงนี้ ควรลงทุนระยะสั้น และกำหนดจุด Stop Loss รวมทั้งต้องทำตามวินัยอย่างเคร่งครัด

Rule 3 : Wave 3 may never be the shortest impulse wave of waves 1, 3 and 5.
กฏข้อที่ 3 : Wave 3 ต้องไม่สั้นที่สุด

คำว่า ไม่สั้นที่สุด หมายถึง คลื่น 3 อาจจะเป็นคลื่นที่ยาวที่สุดในคลื่นขาขึ้น (Impulse Wave) แต่ถ้าไม่ยาวที่สุด ก็ต้องไม่สั้นที่สุด เช่น คลื่น 1 อาจยาวกว่าคลื่น 3 ก็ได้ แต่คลื่น 3 ต้องยาวกว่าคลื่น 5 ถ้าปรากฏว่า คลื่น 3 สั้นกว่าคลื่น 5 ด้วย จะทำให้่ึคลื่น 3 สั้นที่สุด ถือว่า "ผิด"




วิธีการดูว่า ขาขึ้น (Impulse Wave) หมดรอบไปแล้ว ?
วิธีที่ 1
1. หาคลื่น 2 และ 4 ให้เจอก่อน
2. ลากเส้นแนวโน้มขึ้น (Uptrend Line) ไว้
3. เมื่อดัชนีหรือหุ้นของเราตกลงมาต่ำกว่าเส้นนี้ ถือว่าเข้าสู่ Corrective Wave ตามรูปด้านล่าง




วิธีที่ 2
หา Bearish Divergence (จุดกลับตัว) ซึ่งก็คือ ดัชนีหรือราคาหุ้นทำจุดสูงสุดใหม่ (Higher High) แต่เครื่องมือทางเทคนิค เช่น RSI หรือ MACD ไม่ทำจุดสูงสุดใหม่ด้วย ระวัง !!! การเข้าซื้อเพิ่ม ขอยกตัวอย่างดัขนี SET Index เมื่อตอนช่วงปี 2006-2008 ตามภาพต่อไปนี้




สำหรับในช่วง Corrective Wave หากเจอ Bullish Divergence ซึ่งก็คือ ดัชนีหรือราคาหุ้นทำจุดต่ำสุดใหม่ (Lower Low) แต่เครื่องมือทางเทคนิคกลับไม่ทำจุดต่ำกว่า แสดงว่า แรงขายใกล้หมดแล้ว แนะนำ !!! เตรียมเงินเข้าซื้อ

คลื่นขาขึ้น และขาลง ในแต่ละคลื่น อาจจะมีคลื่นลูกเล็กลูกน้อย ซึ่งผู้ใช้ต้องจินตนาการเอาเองว่าจะนับด้วยวิธีไหน ดังเช่นรูปด้านล่างนี้




จากงรูป จะเห็นว่า ในคลื่น 1, 3 และ 5 อาจจะประกอบไปด้วยคลื่นลูกเล็ก ๆ อีก Wave ละ 5 คลื่นด้วยกัน (minor impulse wave) และคลื่น 2 และ 4 ก็เป็นไปได้ว่า จะมี a-b-c เล็ก ๆ อยู่ในนั้นอีก

เรื่องที่นักลงทุนสามารถเอาแนวคิด Elliot Wave ไปใช้ได้ คือ ภาวะตลาด และอารมณ์ของนักลงทุนในแต่ละคลื่น ถ้าเรารู้ว่ามวลชนในตลาดอยู่ในภาวะแบบไหน ก็จะพอเดาได้ว่า อยู่ในคลื่นไหน ควรซื้อ ถือ หรือขาย

ซื้อ-ขาย โดยใช้ Fibonacci
ลำดับตัวเลข Fibonacci (Fibonacci Sequence) ได้แก่ 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, 144, 233, 377, ... โดยตัวเลขตั้งแต่ตำแหน่งที่ 3 เป็นต้นไป เกิดจากกการนำตัวเลข 2 ตัวข้างหน้ามาบวกกัน เช่น 1+1=2, 1+2=3, 2+3=5, 3+5=8 ไปเรื่อย ๆ

ในการคำนวณสัดส่วน Fibonacci จะยกเว้นการคำนวณในตัวเลขลำดับ 5 ตัวแรก คือ 1, 1, 2, 3, 5
1. เมื่อนำเลขลำดับแรกหารด้วยลำดับถัดไป 1 ตำแหน่ง เช่น 8 หารด้วย 13, 13 หารด้วย 21, 21 หารด้วย 34 เมื่อหารอย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ค่าที่ได้จะเข้าใกล้ 0.618
2. เมื่อนำเลขลำดับแรกหารด้วยลำดับถัดไป 2 ตำแหน่ง เช่น 8 หารด้วย 21, 13 หารด้วย 34, 21 หารด้วย 55 เมื่อหารอย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ค่าที่ได้จะเข้าใกล้ 0.382
3. เมื่อนำเลขลำดับแรกหารด้วยลำดับถัดไป 3 ตำแหน่ง เช่น 8 หารด้วย 34, 13 หารด้วย 55, 21 หารด้วย 89 เมื่อหารอย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ค่าที่ได้จะเข้าใกล้ 0.236
4. จำนวนเท่าของตัวเลข Fibonacci คือ 0.618, 0.618+1.00 = 1.618, 1.00+1.618 = 2.618 และ 1.618+2.618 = 4.236

สัดส่วนตัวเลข Fibonacci ที่นิยมนำมาวิเคราะห์หาแนวรับแนวต้าน ประกอบด้วย 0.236, 0.382 และ 0.618 รวมทั้งเพิ่ม 0.500 ด้วย เมื่อวิเคราะห์จะหาอยู่ในรูปเปอร์เซ็นต์ ดังนี้ 23.6%, 38.2%, 50% และ 61.8%

ขั้นตอนการนำไปใช้
1. มองภาพคลื่นใหญ่ หาจุดเริ่มต้น (Wave 1) ให้เจอ หรือหากหาจุดสิ้นสุดของ Wave C ในรอบที่แล้วได้ เราก็ได้ Wave 1 ของรอบใหม่
2. พิจารณาว่า เราอยู่ในคลื่นลูกที่เท่าไร 1-2-3-4-5 หรือ a-b-c เพื่อใช้ในการคาดคะเนว่า ตัวเลขแนวต้าน-แนวรับตรงไหน น่าจะสำคัญ สำหรับคลื่นลูกนั้น ๆ
3. หากลองนับแล้ว ไม่รู้ว่าคลื่นใหญ่มันจะไปจบแถวไหน ก็วัดคลื่นย่อยช่วย เช่น อยู่ใน Wave 3 และไม่แน่ใจคลื่นลูกนี้ใกล้จะจบหรือยัง ก็เข้าไปดูกราฟรายย่อยลงไป เพื่อดูคลื่นย่อย เราอาจจะพบว่า คลื่นย่อยก่อตัวครบ 5 คลื่นแล้ว กำลังจะปรับฐาน แสดงว่า ในคลื่นใหญ่ กำลังเข้าสู่ Wave 4 อาจจะขายเอากำไรออกมาก่อนก็ได้
4. การปรับฐาน (Retrace) ที่เกิดขึ้น ให้ใช้สัดส่วนตัวเลข Fibonacci มาช่วยหาแนวรับ โดยใช้จุดเริ่มต้นของคลื่นนั้นเป็น 0% และใช้ปลายยอดของคลื่นนั้นเป็น 100% เพื่อวัดหา Fibonacci Retracement ก็จะได้แนวรับทางทฏษฏี Fibonacci ที่อยู่ในสัดส่วน 23.6%, 38.2%, 50% และ 61.8% ถ้าใช้ Fibonacci กับกฏข้อที่ 2 ก็จะทำให้มีความแม่นยำเพิ่มสูงขึ้น




การหาราคาเป้าหมาย (Target Price)
โดยปกติ หากเจอการปรับฐาน เราจะใช้จุดสูงสุดเดิมของคลื่นลูกก่อนหน้าเป็นแนวต้านแรก แต่ถ้าราคาหุ้นดีดมาไม่ถึงจุดสูงสุดเดิม ก็มีแนวโน้มดีดขึ้นมาได้ 23.6%, 38.2%, 50% และ 61.8% ของจุดสุงสุดของคลื่นลูกก่อนหน้ากับจุดต่ำสุดของการปรับฐานที่เพิ่งจะเกิดขึ้น แต่หากราคาหุ้นสามารถทะลุผ่านจุดสุงสุดเดิมได้ ทำ Higher High ราคาเป้าหมาย ก็คือ 161.8%, 261.8% หรือหากเป็นคลื่นที่แรงจริง ๆ ก็สามารถวิ่งขึ้นได้ถึง 423.6%

ขอให้นักลงทุนนำบทความนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการลงทุนนะครับ
โชคดีในการลงทุนทุกคนนะครับ : )

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก
- คุณชยนนท์ รักกาญจนันท์ ตำแหน่ง Strategy and Portfolio Performance Section Head ของฝ่ายธนบดี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ในเว็บ Fundmanagertalk.com
- Elliotwave.com
- หนังสือ "พิชิตหุ้น และอนุพันธ์ด้วยปัจจัยทางเทคนิคชั้นสูง" ของ ป.ดัชนี

วิเคราะห์ทางเทคนิคด้วย Dow Theory


1. The averages discount everything.
"ราคา" คือ บทสรุปของทุกอย่าง ซึ่งหมายถึง "Market Action Discounts everything" (ตลาดจะสะท้อนทุกสิ่งทุกอย่าง) ไม่ต้องพิจารณาปัจจัยพื้นฐาน (Fundametal Factors) เพราะมันอาจทำให้เราสับสน 

2. The market has three trends : uptrend, downtrend and sideway.
2.1 Primary คือ Trend ใหญ่ มักยาวเป็นปี
2.2 Secondary คือ Corrections การปรับฐาน มักใช้เวลา 2 - 3 สัปดาห์ จนถึง 2 - 3 เดือน 
2.3 Minor คือ Ripples เล็ก ๆ ใน corrections
*** สิ่งสำคัญอันดับแรก คือ ต้องอ่าน Trend ให้ได้ก่อน แล้วค่อยมาเลือก indicators ต่าง ๆ มาช่วยในการ Trade ***



3. Major trend has three phases. ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นที่มาของทฤษฏี Elliot Waves
1. Accumulation (Wave 1 & 2) - สะสมหุ้น
2. Public Participation (Wave 3 & 4) - นักลงทุนทั่วไปเริ่มเข้ามา
3. Distribution (Wave 5) - เป็น wave ของการขายทำกำไร จะเป็นคลื่นสุดท้ายของการเก็งกำไร และเป็นคลื่นที่แมงเม่าเริ่มเข้ามา


4. The Averages must confirm each other.
หมายความว่า ถ้า industrial index ขึ้น transport index ก็ควรจะขึ้นเหมือนกัน trend ควรจะ confirm ซึ่งกันและกัน ถ้าตัวหนึ่งขึ้น อีกตัวลง แสดงว่า ขัดกัน เศรษฐกิจยังไม่ไป คือ ถ้าบริษัทขนส่ง ขนของดี แสดงว่าบริษัทจะต้องมียอดขายดี ดังนั้นหุ้นขนส่งควรจะสัมพันธ์กับหุ้นอุตสาหกรรมต่าง ๆ ด้วย


5. Volume must confirm the trend.
Volume ควรจะสนับสนุนของขึ้น ลง ของ Trend ด้วย ถ้าหุ้นขึ้น volume มันต้องเยอะตามอยู่แล้ว เพราะถ้าไม่มีคนซื้อ หุ้นจะขึ้นได้ยังไง ??? แต่ถ้าหุ้นลง volume เยอะ ให้เราเตรียมระวัง เพราะมันมีโอกาสสูงที่จะลงต่ออีกหลายวันได้ 


6. A trend is assumed to be in effect until it gives definite signals that it has reversed.
เมื่อราคาขึ้ นจะขึ้นต่อ และเมื่อราคาลง จะลงต่อ จนกว่าจะมีสัญญาณกลับตัวที่ชัดเจน

The use of closing prices and presense of lines.
Dow ใช้เฉพาะ Closing prices ไม่ใช้ intraday และใช้ดูสัญญาณ Reversal จาก Bear มาเป็น bull เมื่อ new trough > previous trough และ closing price > previous peak (Peak & trough System)

Some Criticisms of Dow theory
ทฤษฏีเรื่องการเปลี่ยน Trend ทำให้ Dow Theory จะเข้า ออก ช้าเกินไปเสมอ และจะขาดทุนกำไรประมาณ 20 - 25% นักลงทุนทั่วไปพยายามหาวิธี Trade ทีั่่ดีกว่า Dow's Theory แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังสงสัยว่า จะมีระบบอะไรที่ทำได้ดีกว่า ลุงโฉลกได้แนะนำการใช้ระบบ Peak and trough System โดยปรับเปลี่ยนนิดหน่อย แต่ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิมมาก แต่สิ่งสำคัญเราต้องรู้จักวิธีการใช้ ข้อดี ข้อเสียด้วย 

ขอบคุณข้อมูลจาก http://set-financial-academy.blogspot.com/2010/02/dow-theory.html

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อ่านก่อน !!! ลาออกมาเล่นหุ้นอย่างเดียว



ถ้าใครคิดจะเป็น full time investor หรือจะมาเป็น full time trader สิ่งหนึ่งที่ต้องมีคือ ประสบการณ์ ไม่ต่างจากการทำงาน ถ้าจะเป็นเทรดเดอร์เก็งกำไรรายวัน แต่ยังเล่นหุ้นรายวัน ไม่เก่ง สถิติไม่ดี จำนวนครั้งที่ได้กำไรน้อยกว่าขาดทุน ก็ไม่ควร หรือว่าจะลงทุนเป็นรอบ แต่ยังไม่เคยที่พอร์ตชนะตลาดได้ ก็ถือว่ายังไม่ใช่

หลายคนคิดว่าหุ้น หาเงินได้ในเวลาไม่นาน และมักติดกับการที่ได้กำไรมาบางครั้ง จนลืมมองไปว่า โอกาสที่ขาดทุนก็มีมาก การลาออกมาหารายได้จากหุ้นอย่างเดียว ความกดดันจะเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นหลายเท่า เพราะเมื่อคุณหาเลี้ยงตัวเองด้วยหุ้น รายได้มาจากหุ้นอย่างเดียว การขาดทุน หมายถึง อดตาย ติดดอย

การคิดว่า การไปอบรม/สัมมนา 2 - 3 คอร์ส ทั้งฟรีหรือเสียตังค์ แบบแพงหรือไม่แพงก็ตาม รวมทั้งการซื้อหนังสือแนวคิดการลงทุนต่าง ๆ ทั้งปัจจัยพื้นฐาน หรือเทคนิค หรือหนังสือของคนที่ประสบความสำเร็จมาอ่านก็เอาอยู่แล้ว บอกได้เลยว่า ไม่รอด เพราะตราบใดก็ตามที่เรายังหาสไตล์การลงทุนที่เหมาะกับตัวเราหรือจังหวะการลงทุนไม่ได้ โอกาสที่ผลตอบแทนจะชนะตลาดนั้นแทบเป็นไปได้ยากมากเลยทีเดียว

 เราอาจจะเคยได้เพราะเป็นช่วงตลาดขาขึ้น เช่นต้นปี แต่หลังจากนี้ไป เมื่อดัชนีขึ้นสูงหลักพัน ภาวะเศรษฐกิจแย่ ตลาดผันผวนมาก โอกาสที่จะขาดทุน หมดตัวก็มีสูง ยิ่งจิตใจไม่นิ่ง และพยายามไปคิดว่าต้องได้เงิน ต้องทำเงินทุกเดือน เหมือนกับการทำงานประจำ เรายิ่งเน่า เพราะมันเป็นการไปเร่งตัวเอง ให้เสี่ยง ให้โลภ เกินความสามารถที่เราจะรับความเสี่ยงนั้นได้

ถ้าจะลงทุนเป็นอาชีพ เล่นหุ้นเป็นอาชีพ ไม่ใช่ว่ามีแค่เงินเท่านั้นจะเพียงพอและประสบความสำเร็จในการลงทุน แต่สิ่งที่ต้องมีเพิ่มเติมอีก ซึ่งทำให้นักลงทุนแต่ละคนแตกต่างกัน คือ

1. วินัย
2. ประสบการณ์
3. วิธีคิดที่ถูก

ถ้ายังติดดอย เพิ่งเล่นหุ้น และยังไม่เข้าใจตลาดหุ้นดีจริง ก็ไม่ควรเอาอนาคตไปเสี่ยง การลงทุน การเก็งกำไร แม้จะหาเงินมาได้ง่ายแต่ก็มีความไม่แน่นอน หรือผันผวนมาก มากเกินที่เราจะไปประมาทกับมัน ดังนั้นถ้าเบื่องานประจำ ก็ควรเปลี่ยนมาทำงานที่เราอยากทำ งานที่เรารัก งานที่อาจจะเคยเป็นงานอดิเรกมาก่อน เพื่อสร้างรายได้ และใช้การลงทุนเป็นตัวสร้างรายได้เสริม โดยการสร้างผลตอบแทนดีกว่า ถ้าจะออกจากงานประจำมาเล่นหุ้นก็ต้องมีพร้อมทุกสิ่งทุกอย่างก่อนนะ

รายได้ของคนเรามี 2 ทาง คือ


1. Active Income เป็นรายได้ที่ได้มาจากการลงแรง เช่น เงินเดือน, ค่านายหน้า, วิชาชีพต่าง ๆ, การทำธุรกิจ
2. Passive Income เป็นรายได้ที่ได้มาจากการลงทุน เช่น ดอกเบี้ย, เงินปันผล, ส่วนต่างกำไร, ค่าเช่าต่าง ๆ 

ถ้าเราสามารถทำให้รายได้แบบ Passive มากกว่ารายได้แบบ Active ได้ เราก็จะมีอิสรภาพทางการเงิน หรือ Financial Freedom ในระดับหนึ่ง ถ้าถึงระดับนั้นแล้ว เราก็สามารถที่จะออกมาเล่นหุ้นอย่างเดียวได้อย่างมีความสุข